สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ พระมหากรุณาธิคุณด้านการบริหารราชการแผ่นดินใน “ระบบราชการ” ของพระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๑ ปิยนาถ บุนนาค ราชบัณฑิต ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ๑ ปรับปรุงจากบทสรุปใน ปิยนาถ บุนนาค และคณะ, ๙ แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ , หนังสือในโครงการสนับสนุนการจัดท� ำต้นฉบับ หนังสือใหม่ที่ทรงคุณค่า ล� ำดับที่ ๔ (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๒๖๖-๒๘๒ บทคัดย่อ พระมหากรุณาธิคุณในการวางรากฐานและพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินใน “ระบบราชการ” ไทยของพระมหากษัตริย์ ๙ รัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ นับเป็นคุณูปการแก่ระบบ ราชการไทยมาจวบจนปัจจุบัน ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อมีการสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ขึ้นบริหารแผ่นดิน ณ กรุงเทพฯ มีการวางโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาศักยภาพของข้าราชการ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในกรมกองต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงประสานความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีอ� ำนาจ และบทบาททางการเมืองการปกครองให้ร่ วมกันบริหารราชการแผ่นดินอย่ างสมานฉันท์ ใน รัชกาลที่ ๔ ไทยต้องเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ท� ำให้ต้องทรงวางรากฐาน การด� ำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อม ๆ กับการปรับบ้าน เมืองให้ เป็ นแบบสมัยใหม่ ซึ่งได้ รับการปฏิบัติในรูปแบบของการปฏิรูปบ้ านเมืองครั้งใหญ่ ในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ตามล� ำดับโดยเฉพาะในระบบบริหารราชการแผ่นดินทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาคอันได้กลายเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในรัชกาลที่ ๗ มีการพัฒนาระบบข้าราชการ พลเรือนในระบอบประชาธิปไตย โดยเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการโดยเสมอภาค และคุณธรรม กับทั้งทรงส่งเสริมให้เกิดองค์กรแห่งปราชญ์คือราชบัณฑิตยสภาขึ้นด้วย พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ทรงใช้พระราชอ� ำนาจตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทรงให้ความส� ำคัญกับประชาชน ทรงแก้ไขปัญหาความบาดหมางระหว่างชาวไทยกับชาวจีนได้ส� ำเร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงให้ความส� ำคัญกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงเน้นการสร้างความสามัคคีในประเทศ พร้อมทั้งพระราชทาน แนวพระราชด� ำริและการปฏิบัติในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนและประเทศชาติ ทรงเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการสมัยใหม่ การพัฒนามนุษย์ด้านการศึกษา และการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน. ค� ำส� ำคัญ : พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์, การบริหารราชการ แผ่นดิน, “ระบบราชการ”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=