สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 72 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒. คัมภีร์พราหมณะ เป็นคัมภีร์ประเภทร้อยแก้ว อธิบายความหมายของบทสวดสดุดี เทพเจ้า และอธิบายถึงระเบียบการแบบแผนประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อนในคัมภีร์พระเวท เป็นตอนที่ว่าด้วยข้อห้ามและข้อที่พึงกระท� ำต่อเทพเจ้า ตลอดจนแบ่งหน้าที่ของพราหมณ์ผู้ประกอบ พิธีกรรม โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการร่ายพระเวทสังหิตา การบูชายัญประเภทต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในคัมภีร์ พระเวท ฉะนั้นต้องมีพราหมณ์ผู้ท� ำพิธีกรรม ๔ พวกคือ ๑) พราหมณ์โหตา ท� ำหน้าที่ร่ายมันตระจาก ฤคเวทสังหิตาสรรเสริญเทพเจ้า เพื่ออัญเชิญให้มาปรากฏ และเป็นประธานในยัญพิธี ๒) พราหมณ์ อุทคาตา ท� ำหน้าที่สวดมันตระด้วยส� ำเนียงเสียงเสนาะร่ายสามเวท ท� ำหน้าที่สวดมันตระด้วยส� ำเนียงเสนาะ เพื่อกล่อมเทพเจ้าที่อัญเชิญมาเป็นประธานรับเครื่องบวงสรวงสังเวยในยัญพิธีให้เกิดความบันเทิง ๓) พราหมณ์อัธวารยุ ท� ำหน้าที่ร่ายยชุรเวท มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรม บวงสรวงเทพเจ้าตามระเบียบ แบบแผนที่ก� ำหนดไว้ในคัมภีร์พระเวท และ ๔) พราหมณ์พรหมัน ท� ำหน้าที่ร่ายอถรวเวทและท� ำหน้าที่ ทรงจ� ำคัมภีร์พระเวททั้งหมดให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระเวทนั้น รวมทั้งการควบคุมยัญพิธีให้เป็นไป ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่ก� ำหนดไว้ ๓. คัมภีร์อารัณยกะ เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นต่อจากพราหมณะ มีเนื้อหาว่าด้วยระเบียบการบ� ำเพ็ญ พรตในป่า ว่าด้วยบทเรียนลึกลับและต้องท� ำการศึกษากันในป่า มิใช่หมู่บ้าน เป็นคัมภีร์ที่ไม่เกี่ยวกับ การประกอบพิธีกรรม แต่กล่าวถึงเรื่องศักดิ์สิทธิ์และมหัศจรรย์ โดยแสดงนัยของปรัชญาและการถือบวช ๔. คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยความคิดนึกทางด้านปรัชญา หรือนัยหนึ่ง คือ ความ นึกคิดเกี่ยวกับจิตวิญญาณหรืออาตมัน เรื่อง พระเป็นเจ้า เรื่องโลก และมนุษย์ เป็นคัมภีร์ที่บรรจุหลัก ค� ำสอนที่ลึกซึ้ง เป็นปรัชญาชั้นสูง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เวทานตะ แปลว่า ที่สุดแห่งพระเวท ซึ่งเป็น พัฒนาการขั้นสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทนั่นเอง คัมภีร์เวทานตะ ซึ่งหมายถึงอุปนิษัทที่เป็นค� ำสอนตอนสุดท้ายของพระเวท และเป็นค� ำพรรณนา ของฤาษีมีเนื้อหาเป็นปรัชญาลึกซึ้งว่าด้วย พรหมัน อาตมัน อวิทยา มายา สังสาร โมกษะ และก� ำเนิด จักรวาล เป็นต้น ซึ่งเป็นการอธิบายข้อความที่คลุมเครือ ยากแก่การเข้าใจในพระเวท นอกจากคัมภีร์ ที่เป็น “ศฺรุติ” ตามที่กล่าวมาแล้วยังมีคัมภีร์ประเภทที่เรียกว่า “สฺมฺฤติ” ที่แปลว่า จดจ� ำสืบ ๆ ต่อกันมา ซึ่งเป็นค� ำสอนของบรรพบุรุษ มี ๒ อย่าง อย่างแรกเรียก “ปุราณ” เป็นคัมภีร์ประเภทกล่าวถึงต� ำนานเทพ เทพฤาษี การสร้างจักรวาลและความเป็นมาของอาทิตยวงศ์และจันทรวงศ์ เป็นคัมภีร์สาธารณะส� ำหรับ คนทั่วไปศึกษาได้ ไม่ห้ามวรรณะทั้งหมด ๑๘ ปุราณะ มีวิษณุปุราณะ ศิวปุราณะ และพรหมปุราณะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละปุราณะแตกต่างกันที่เนื้อหาและความสั้นยาวของเรื่อง อย่างที่ ๒ ระดับสุดท้าย คัมภีร์ ประเภทที่เรียก “อีติหาส” คือ มหากาพย์มี ๒ เรื่อง ได้แก่ คัมภีร์รามายณะ และคัมภีร์มหาภารตะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=