สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรั ชญา 70 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 บทความนี้ประสงค์ที่จะน� ำเสนอถึงอิทธิพลค� ำสอนของพระเวทที่เป็นปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ในพระพุทธศาสนา ในฐานะปรัชญาเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่พระพุทธเจ้าทรงมีทรรศนะต่อพระเวทในเรื่อง พรหมันก็ดี เรื่องเทพเจ้าก็ดี เรื่องวรรณะก็ดี เรื่องการบูชายัญก็ดี เรื่องฤกษ์ยาม และน�้ ำศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้ง เรื่องกรรมสังสาร และเรื่องโมกษะนั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าใช้หลักการอะไรส� ำหรับมองไปที่พระเวทและ ทรงสถาปนาศาสนาของพระองค์ขึ้นได้อย่างไรซึ่งค� ำสอนต่าง ๆ เหล่านี้มีปรากฏในพระไตรปิฎกเป็นอันมาก คัมภีร์พระเวท : บ่อเกิดปรัชญาพราหมณ์-ฮินดู พระเวท เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่เก่าแก่ที่สุด ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ค� ำว่า “เวท” แปลว่า ความรู้ ซึ่งหมายถึง ความรู้ที่ไม่ได้ขีดเขียนหรือบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้โดยมนุษย์ แต่เป็น “ศรุติ” (Revelation) คือ ความรู้ทิพย์ที่ได้ยินได้ฟังมาโดยตรงจากเทพเจ้า เป็นการเปิดเผยของเทพเจ้า โดยผ่านลงมาทางพระฤาษีทั้งหลายผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระฤาษีเหล่านั้น เมื่อได้รับมาแล้วก็ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ด้วยการท่องจ� ำปากเปล่า (มุขปาฐะ) และต่อมาพวกพราหมณ์ก็ได้เป็นผู้รับถ่ายทอดจากพระฤาษีอีกต่อหนึ่ง คัมภีร์พระเวทยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อเปารุษยะ” หมายถึง สิ่งที่มิได้สร้างหรือประพันธ์ขึ้นด้วย ฝีมือมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่เทพเจ้าได้เปิดเผยให้รู้โดยผ่านทางพระฤาษี ๑๐ ตน ได้แก่ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ และ ฤาษีภคุ ฤาษีเหล่านี้เป็นปฐมาจารย์และบูรพาจารย์ผู้สอนพระเวทให้แก่พวกพราหมณ์ ซึ่งว่าด้วย สิ่งเป็นจริงสูงสุดคือ พรหมัน และมีบทบัญญัติไว้ในคัมภีร์พระเวทว่าพวกพราหมณ์เท่านั้นมีสิทธิ์ที่จะศึกษา คัมภีร์พระเวทได้ ส่วนบุคคลในวรรณะอื่น ๆ ถูกห้ามไม่ให้มีสิทธิ์อ่านศึกษาแม้แต่การแตะต้องพระคัมภีร์ เดิมทีคัมภีร์พระเวทมีอยู่เพียงคัมภีร์เดียว คือ ฤคเวท ต่อมาได้มีการแบ่งออกเป็น ๔ คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรวเวท ตามล� ำดับดังนี้ ๑. ฤคเวท นับเป็นคัมภีร์ที่เก่าที่สุดและส� ำคัญที่สุดประกอบขึ้นด้วยค� ำฉันท์เป็นบทร้อยกรอง เป็นต้นตอของพระเวททั้ง ๓ ที่เหลือ เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าต่าง ๆ (Hymns) ที่มี ชื่อในคัมภีร์นี้ซึ่งประจ� ำอยู่ในธรรมชาติในลักษณะเป็นพหุเทวนิยม (Polytheism) เช่น อินทะ อัคนี สูรยะ วรุณะ วิษณุ ฯลฯ เทพเจ้าเหล่านี้ล้วนปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างอิสระ ไม่ขึ้นแก่กัน ในกาล ต่อมาได้มีการลดฐานะของเทพเจ้าบางองค์ลงและยกย่องเทพเจ้าองค์หนึ่งที่เห็นว่าส� ำคัญทรงอานุภาพขึ้น เป็นใหญ่เหนือเทพองค์อื่น ๆ เรียกว่า ลัทธิอติเทวนิยม (Henotheism) คัมภีร์ฤคเวทรวมเป็นหนังสือได้ ๑๐ เล่ม แต่ละเล่มแต่ละสูตะก็ยังมีบทย่อย ๆ ซึ่งเรียกว่า มันตระ และยังมีหลาย ๆ มันตระรวมกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=