สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
เดื อน ค� ำดี 69 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ความน� ำ สายธารแห่งความคิดและความเชื่อรวมกันขึ้นเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติมีวิวัฒนาการและ เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ยุคดึกด� ำบรรพ์มาจนถึงทุกวันนี้นับเป็นเวลาประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีแล้ว แต่ที่ได้ วิวัฒนาการในรูปของความเชื่อและเหตุผลนั้น ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี ความคิด ความเชื่อ และเหตุผล ที่ถือว่าเป็นปรัชญานั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ สาย คือ สายปรัชญาตะวันตกได้เริ่มขึ้นที่กรีกประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว กลายเป็นอู่อารยธรรมของโลกตะวันตก ซึ่งได้วิวัฒนาการมาเป็นปรัชญาสสารนิยม ธรรมชาตินิยม และปรัชญาสังคม ในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นเป็นวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รวมทั้งเทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมมาโดยตลอด ส่วนอีกสายหนึ่ง คือ สายปรัชญาตะวันออกแยกย่อยออกเป็น ปรัชญาอินเดียและปรัชญาจีนเริ่มขึ้นตั้งแต่ประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้วได้กลายเป็นอู่อารยธรรมของโลก ตะวันออกสายธารแห่งความคิดและความเชื่อที่เป็นระบบปรัชญาอินเดียเริ่มขึ้นจากยุคพระเวทประมาณ ๑,๐๐๐ ปีถึง ๑๐๐ ก่อนพุทธกาล ปรัชญาเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์และปฏิพัฒนาการทาง ความคิดและความเชื่อของมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อกันอย่างส� ำคัญ ปรัชญาตะวันตกและปรัชญาตะวันออก ทั้ง ๒ สายแม้จะมุ่งแสวงหาความจริงเกี่ยวกับโลกและชีวิตแต่ก็มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน ปรัชญาตะวันตก มุ่งแสวงหาความจริงหรือข้อเท็จจริงจากโลกภายนอกหรือธรรมชาติแวดล้อมเป็นส� ำคัญ ส่วนปรัชญา ตะวันออกโดยเฉพาะปรัชญาอินเดียมุ่งแสวงหาความจริงหรือสัจจะภายในโดยให้ความส� ำคัญแก่โลกภายใน คือจิตใจ ปรัชญาทั้ง ๒ สาย จึงมีลักษณะต่างกัน โดยที่ปรัชญาตะวันตกมีลักษณะเป็นเรื่องของทรรศนะ หรือทฤษฎีว่าด้วยโลกและชีวิต (view of the world and life) ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ส่วนปรัชญาอินเดีย เป็นเรื่องวิถีชีวิต (a way of life) ปรัชญาอินเดียทุกระบบเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อสภาพ ที่เป็นอยู่ของชีวิต โดยมองเห็นว่าชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกข์นานัปการ และเห็นว่าทางหลุดพ้นจาก ความทุกข์ทั้งปวงนั้น มีและเป็นไปได้ด้วยวิธีการบ� ำเพ็ญเพียรภายใน คือ สมาธิหรือตบะ หรือวิปัสสนา ปรัชญาอินเดียทุกระบบจึงมีการแสวงหาโมกษะด้วยวิธีเป็นของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับศาสนาอย่างแยก ไม่ออก ปรัชญาอินเดียแบ่งออกเป็น ๒ ระบบคือ ระบบที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อและยอมรับพระเวท ว่าเป็น “ศรุติ ” จากเทพเจ้าเรียกว่า อาสติกะ และอีกระบบหนึ่งที่ปฏิเสธฐานะของพระเวทว่าพระเวทไม่ใช่ ศรุติ ปฏิเสธพิธีกรรมบวงสรวงบูชายัญรวมทั้งการปฏิเสธเรื่องวรรณะในคัมภีร์พระเวท ระบบนี้เรียกว่า นาสติกะ อย่างไรก็ตาม ปรัชญาอินเดียทุกระบบย่อมได้รับอิทธิพลของพระเวทไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ทั้งในแง่ยอมรับและปฏิเสธ ทั้งนี้เพราะบริบทเงื่อนไขการอุบัติขึ้นของความคิดและความเชื่อในกาลเวลา ในภูมิศาสตร์และบรรยากาศของสังคมอินเดียในยุคนั้น ฉะนั้นปรัชญาอินเดียสายนาสติกะ รวมทั้งพุทธ- ปรัชญาจึงมีเรื่องราวหรือค� ำสอนและวิธีปฏิบัติในพระเวทปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=