สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 พระเวทในสายตาแห่งพุทธปรัชญา เดือน ค� ำดี ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา บทคัดย่อ พระเวทคือ ศรุติ เรื่องพรหมัน-อาตมัน เรื่องไตรเพทและเทพเจ้า เรื่องวรรณะ เรื่องกรรม การด� ำเนินชีวิตตามขั้นตอนของอาศรม การบูชายัญ อาตมัน คือวิญญาณในร่างกายแม้ร่างกายแตกดับไป แต่วิญาณไม่ดับไปด้วย จะออกจากร่างเดิมไปแสวงหาร่างใหม่ วิญญาณนั้นเวียนว่ายไปตามวิถีทางแห่ง กรรมและสังสารที่ก� ำหนดไว้ จนกว่าจะหลุดพ้นจากกรรมและสังสาร การศึกษาพระเวท การสวด สรรเสริญเทพเจ้า การบูชายัญการบ� ำเพ็ญตบะและหน้าที่ในแต่ละวรรณะเป็นทางน� ำไปสู่ความเป็น เอกภาพกับพรหมัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรศนะปฏิสัมพันธ์ต่อค� ำสอนในพระเวทที่ว่าด้วยเรื่อง ต่าง ๆ เหล่านั้น ๔ วิธี ด้วยกัน คือ การปฏิรูปด้วยการอนุโลม เรื่องพราหมณ์ เรื่องวรรณะ การสวด สรรเสริญสังเวยเทพเจ้า เรื่องกรรม และเรื่องเทพเจ้าตามสภาพความเป็นจริงที่สังคมยึดถือปฏิบัติกันอยู่ ขณะนั้น แต่เปลี่ยนความหมายใหม่บนพื้นฐานแห่งเหตุผล การปฏิวัติด้วยการปฏิเสธและเปลี่ยนแปลง ค� ำสอน และหลักการปฏิบัติที่ว่าด้วยเรื่องฤกษ์ยาม น�้ ำศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์อื่น บวงสรวงเทพเจ้า เหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง ด้วยหลักมนุษยธรรม หลักกรรม และการพึ่งตนเอง การประดิษฐานระบอบพรหมจรรย์ขึ้นมาใหม่ด้วยหลักธรรมวินัย การปฏิบัติสุจริตทางกาย วาจา ใจ โดยไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และท� ำจิตใจให้ผ่องใส ตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา การหลีกเลี่ยง จากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยคบนพื้นฐานแห่งอริยสัจธรรมไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท กรรม สังสารวัฏ และนิพพานที่ไม่เคยมีศาสดาใดในโลกค้นพบและประกาศสั่งสอนมาก่อน บูรณาการ พุทธบริษัท ๔ เป็นองค์รวมด้วยจริยธรรม บุคคล สิ่งแวดล้อม และสังคม บนฐานสัมมาทิฐิ และ อริยมรรค ทรงยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากปุถุชนสู่อริยบุคคล เป็นเอกภาพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์ อย่างสมดุล ค� ำส� ำคัญ : พระเวท, ปฏิรูป, ปฏิวัติ, ประดิษฐาน, บูรณาการ, อริยสัจ ๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=