สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 64 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ตนอย่างไม่กระตือรือร้นมากมายนักต่อความทะเยอทะยาน ซึ่งดูเหมือนกับว่าเขาอาจจะก� ำลังทดลอง วิธีปฏิเสธเจตจ� ำนง แต่ถึงกระนั้นมีหลายครั้งที่เขาแสดงออกถึงความกระวนกระวายและความอยาก รู้อยู่บ้างด้วยการติดตามผลงานที่เขาส่งไปยังส� ำนักพิมพ์ต่าง ๆ ว่ามีการตอบรับจากสังคมมากน้อย เพียงใด เมื่อไม่ได้รับผลตามต้องการเขาไม่ทุกข์ใจอะไรมากนักและยังคงเขียนหนังสือหรือบทความ ส่งส� ำนักพิมพ์ต่อไป ในขณะเดียวกันโชเพนเฮาเออร์ได้วางแผนชีวิตไว้อย่างเคร่งครัดในแต่ละวัน โดยท� ำให้วิถีชีวิตในการท� ำงานกับวิถีชีวิตในการเพลิดเพลินกับความสุขส่วนตัวเกิดการสมดุลกัน ตอนบั้นปลายชีวิตของเขาจึงเป็นช่วงที่อารมณ์ฝ่ายลบค่อย ๆ ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ จิตใจของเขาจึง มีความสงบมากขึ้น จนกระทั่งเขาได้รับรางวัลจากสมาคมในประเทศนอร์เวย์ ชีวิตของโชเพนเฮาเออร์ เริ่มดีขึ้นตามล� ำดับจนกระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นักเขียนประวัติปรัชญาส่วนมากจึงกล่าวถึง มุมมองของเขาในช่วงนี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ความเหน็ดเหนื่อยที่ โชเพนเฮาเออร์ต้องต่อสู้และฝ่าฟันอุปสรรคตลอดมาเริ่มลดน้อยลงเมื่ออายุของเขามากขึ้น ก� ำลังใจและ ก� ำลังปัญญาที่เขาใช้อย่างสมดุลกันได้เกิดผลผลิตทางปรัชญาไว้มากมาย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในชีวิตของเขาคือความไม่ท้อแท้และก� ำลังใจที่ดิ้นรนต่อสู้กับอุปสรรคโดยใช้ปัญญามากกว่าที่จะคิดสั้น ในการฆ่าตัวตาย เมื่อเขาเชื่อว่าเขาหยั่งเห็นความจริงของโลกและชีวิตแล้ว เขาลองปฏิบัติโดยใช้วิธีที่เขา เชื่อว่าเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์นั่นคือการเพ่งพินิจชีวิตและด� ำเนินชีวิตด้วยการเป็นผู้มี ความรักฝังอยู่ในจิตใจและมีความเสียสละแบบไม่เห็นแก่ตัว คุณธรรมเหล่านี้เขาเชื่อว่าจะท� ำให้เจตจ� ำนง ลดการดิ้นรนน้อยลง หลายคนในสมัยนั้นที่รู้จักโชเพนเฮาเออร์ต่างวิจารณ์กันว่าเขาเป็นคนฉุนเฉียว อัตตาสูง ชอบ เสียดสีสังคม แต่นั่นเป็นลักษณะนิสัยที่มีมาตั้งแต่วัยรุ่น ครั้นต่อมาเมื่อเกิดมรสุมของชีวิตที่ท� ำให้ไม่ได้รับ ในสิ่งที่สมปรารถนาเขาจึงหยุดดิ้นรนชั่วขณะ เมื่อรู้ว่าตนเองเกือบเป็นโรคประสาท เขายังคงเขียนปรัชญา ตามที่เขาเชื่อมั่นและศรัทธาว่าตนเองได้ค้นพบแล้วซึ่งความมีอยู่จริงทางอภิปรัชญาคือเจตจ� ำนงซึ่งเป็น แก่นแท้ของสรรพสิ่ง แนวคิดของเขาจะให้ความจริงแก่เราได้หรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องส� ำคัญ เท่ากับการที่เขา ต่อสู้ชีวิตและอุปสรรคด้วยความอดทน อันเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่มีชีวิตล้มเหลวหรือไม่ได้รับใน สิ่งที่สมปรารถนา แต่ได้ศึกษาหาแนวทางของการเผชิญหน้ากับอุปสรรคต่าง ๆ จนสามารถหลุดพ้นจาก ความทุกข์ได้อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์ของโชเป็น เฮาเออร์มีทั้งวิธีเพ่งพินิจศิลปะ เพื่อเป็นทางผ่านไปสู่ความสงบของจิตใจ และวิธีการเพ่งพินิจชีวิตแล้วสละ ความต้องการทางโลกเพื่อให้เจตจ� ำนงสลายไป แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดพอถึงที่สุดแล้ววิธีการเหล่านั้นต้อง ท� ำให้มนุษย์เห็นถึงความไม่มีอะไร (nothingness) ด้วยเหตุนี้บุคคลส่วนมากจึงสรุปกันว่าโชเพนเฮาเออร์ เป็นพวกสุญนิยม (nihilism) แต่ถึงแม้นว่าจะเป็นสุญนิยม แต่ไม่ได้ยอมรับวิธีการฆ่าตัวตายว่าเป็นทางออก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=