สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
63 วนิ ดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นปรากฏการณ์โดยมีเจตจ� ำนงเป็นแก่นแท้ที่อยู่นอกเวลาและอวกาศและอยู่เหนือ หลักเหตุผลเพียงพอ แม้แต่ปัญญาของเราที่เป็นตัวผลิตเหตุผลให้กับมนุษย์ก็เป็นสิ่งสร้างของเจตจ� ำนง ดังจะพบได้ว่าแผนการทั้งหลายของมนุษย์ที่วางไว้มักจะถูกล้มโดยเจตจ� ำนง ซึ่งเป็นพลังตาบอดที่ไม่อยู่นิ่ง และดิ้นรน การดิ้นรนท� ำให้เกิดการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง และไม่คงที่คงตัว การดิ้นรนของเจตจ� ำนง เพื่อความมีอยู่นี้เมื่อไปปรากฏอยู่ในสรรพสิ่ง โชเพนเฮาเออร์เรียกพลังนี้ว่า “เจตจ� ำนงที่จะมีชีวิต” ซึ่งท� ำให้ ทุกสิ่งต้องดิ้นรนไปเพื่อความอยู่รอด มนุษย์ สัตว์ พืช รวมไปถึงวัตถุต่าง ๆ ก็ล้วนมีเจตจ� ำนงที่จะมีชีวิต มนุษย์จึงจ� ำเป็นต้องศึกษาพลังดิ้นรนนี้เพื่อจะได้รู้จักควบคุมและรู้จักหยุดการดิ้นรน บุคคลใดก็ตามที่ ไม่สามารถควบคุมตนเองและไม่มีความรู้ว่ามนุษย์ทุกคนต้องพบกับอุปสรรคตลอดเวลา บุคคลนั้น จะต้องเผชิญกับความโกรธ ความผิดหวังและความทุกข์ระทมด้วยความปวดร้าว จนกระทั่งตกเป็นทาสของ ความทุกข์เหล่านั้นซึ่งอาจน� ำไปสู่การฆ่าตัวตาย โชเพนเฮาเออร์คิดว่าเขาได้รู้เรื่องนี้อย่างถ่องแท้แล้ว แต่ผู้ที่ไม่รู้ในเรื่องนี้ย่อมพอใจที่จะดิ้นรนหาความสุข และเมื่อพบกับความสุขมนุษย์ก็ไม่สามารถฉุดรั้งความ สุขให้อยู่กับตนได้นาน ความสุขที่ได้รับจึงอยู่ได้ในช่วงสั้น ๆ แต่ถ้าผู้ใดสามารถฉุดรั้งความสุขให้อยู่กับตนเอง ได้นานก็ต้องพบกับอุปสรรคอีกคือความเบื่อหน่ายแล้วก็เกิดความอยากใหม่ต่อไปอีก และจะต้องต่อสู้กับ อุปสรรคอีกเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจ จึงเป็นเช่นนี้เรื่อยไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ดังนั้นความสุขที่ทุกคนใฝ่ หานั้นหามีจริงไม่ โชเพนเฮาเออร์เห็นว่าความสุขก็คือ ความทุกข์ที่คนลวงโลกทั้งหลายไปให้คุณค่าใน ทางบวก ด้วยเหตุนี้แนวคิดของโชเพนเฮาเออร์จึงถูกมองว่าเป็นทุนิยม (pessimism) อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าความสามารถในการหยั่งเห็นพลังตาบอดที่ดิ้นรนนี้เองที่ท� ำให้ โชเพนเฮาเออร์เข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของโลกและมองเห็นความเป็นมายาของสรรพสิ่ง ถึงแม้นว่า เขาจะได้รับความผิดหวังอย่างรุนแรงในชีวิตไม่ว่าจะเป็นความรักของมารดา ความรักของเพื่อนต่างเพศ และความผิดหวังในการท� ำงาน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุในการบั่นทอนก� ำลังใจของเขามาก แต่ด้วยการ ที่เขาฝึกฝนการใช้ปัญญาจนถึงขั้นลุ่มลึกอันเป็นผลมาจากการฝึกคิดแบบปรัชญามาตั้งแต่วัยรุ่น ประกอบ กับการได้อ่านแนวคิดปรัชญาของทางตะวันออก จึงท� ำให้เขาสามารถบูรณาการแนวคิดของสองซีกโลกได้ อย่างลงตัวจนน� ำไปสู่การค้นพบความรู้ที่ใช้วิธีการเพ่งพินิจซึ่งอยู่เหนือขั้นเหตุผล และท� ำให้เขาเข้าใจในแก่น แท้ของโลกและชีวิต อีกทั้งยังเห็นแจ้งชัดในสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏแก่อายตนะของมนุษย์ว่าล้วนเป็น การแสดงออกของเจตจ� ำนงที่เป็นพลังดิ้นรนตลอดเวลา มนุษย์สามารถหลุดพ้นจากเจตจ� ำนงได้ต่อเมื่อ พวกเขารู้จักปฏิเสธเจตจ� ำนงคือปฏิเสธความต้องการต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นไปตามเจตจ� ำนง ถ้า มนุษย์มีความรู้เช่นนี้พวกเขาจะไม่ท� ำอะไรเพื่อสนองความอยากและความต้องการของตนอีกต่อไป และ ด้วยความคิดเช่นนี้โชเพนเฮาเออร์จึงปลีกตนออกจากมหาวิทยาลัยไปอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ตอัมไมน์ โดย ใช้ชีวิตอย่างสงบและท� ำงานแต่พอเพียง โชเพนเฮาเออร์ได้ใช้ชีวิตในช่วงนี้พิจารณาตนเองและปฏิบัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=