สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 62 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑. เป็นคนฉุนเฉียวและเจ้าอารมณ์ ๒. เป็นคนเย่อหยิ่งทะนงตน ๓. เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง ๔. เป็นคนทะเยอทะยาน ๕. เป็นคนอยากรู้อยากเห็น ๖. เป็นคนชอบวิตกกังวล ๑๓ ด้วยลักษณะที่กล่าวมานี้ท� ำให้โชเพนเฮาเออร์เป็นคนมีอัตตาสูงและมักเกิดปัญหากับคนรอบข้าง เขาจึงต้องใช้ชีวิตอยู่ตามล� ำพัง แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักสัตว์ เขาจึงเลี้ยงแมวและสุนัขด้วยความใส่ใจ ท� ำให้เขามีชีวิตที่สงบและไม่โดดเดี่ยวมากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อโชเพนเฮาเออร์ออกจากสังคมในช่วงที่อายุได้ ๔๕ ปี คือ ค.ศ. ๑๘๓๓ เขา ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบและด� ำเนินชีวิตบนเส้นทางปรัชญาที่เขาน� ำเสนอคือปฏิเสธความต้องการและหยุด การดิ้นรนในชีวิต เขาปฏิบัติภารกิจประจ� ำวันซ�้ ำกันทุกวันอย่างไม่เบื่อหน่าย โดยมีสุนัขพุดเดิลเป็นเพื่อน ซึ่งท� ำให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องการหลุดพ้นจากทุกข์ที่แฝงอยู่ในการด� ำเนินชีวิตของเขา ในที่นี้สรุปได้มีดังนี้ ๑. เพ่งพินิจชีวิตจนเห็นแต่ความเป็นมายาที่ปรากฏและเห็นว่าความจริงแท้คือเจตจ� ำนงที่มีอยู่ ในโลกและเอกภพ ๒. ด� ำเนินชีวิตด้วยการมีความรักที่ฝังแน่นในจิตใจ ๓. ด� ำเนินชีวิตด้วยความเสียสละและไม่เห็นแก่ตัว ๔. ลดความดิ้นรน ๕. ท� ำวิถีชีวิตในการท� ำงานให้สมดุลกับวิถีชีวิตในการเพลิดเพลินกับความสุข สรุป ดังได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นจะเห็นได้ว่าแนวคิดของโชเพนเฮาเออร์มีลักษณะแบบอเทวนิยมที่ ไม่อ้างอิงถึงพระผู้สร้างโลก เขาเชื่อว่าเขาได้พบความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์แล้ว และรู้แจ้งชัดถึงโลก ที่ปรากฏแก่ตานี้ว่าเป็นเพียงโลกแห่งปรากฏการณ์ เป็นมายาที่ไม่มีความเป็นจริงและมีอยู่โดยถูกรับรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีอยู่อย่างสัมพันธ์กันภายใต้หลักแห่งเหตุผลที่เพียงพอ มนุษย์ทุกคนมีโครงสร้างและ กลไกของจิตแบบเดียวกันคือหลักเหตุผลเพียงพอซึ่งเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้หลักการนี้เช่นกัน มนุษย์จึงสามารถรับรู้โลกได้โดยผ่านร่างกาย และร่างกายนี้ก็สามารถค้นหาความจริงได้ ซึ่งท� ำให้พบว่า ๑๓ Will Durant. (1961). Op.cit. pp. 434 – 435.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=