สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

61 วนิ ดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เจตจ� ำนง และสิ่งที่ถูกรู้ก็ไม่เป็นสิ่งเฉพาะหน่วยแต่จะเป็นมโนคติสากล นั่นคือขณะที่มีการเพ่งพินิจ ความงดงามของศิลปะ ตัวตนขณะนั้นจะหายไปท� ำให้หมดความอยาก หมดความต้องการ หมดความดิ้นรน และหมดความทุกข์ แต่ถ้าเราหยุดเพ่งพินิจ ความเป็นตัวตนจะกลับมาเป็นปัจเจกบุคคลที่อยู่ภายใต้อิทธิพล ของเจตจ� ำนง ศิลปะในทัศนะของโชเพนเฮาเออร์จึงมีความยิ่งใหญ่ เพราะท� ำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงได้และ ในขณะที่จิตของมนุษย์อยู่กับความงดงามของศิลปะนั้นเองจิตจะว่างจากความผูกพันและมีความบริสุทธิ์ ในขณะนั้น โชเพนเฮาเออร์กล่าวว่าผู้ที่มีสภาวะจิตในขณะนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็นนักบุญโดยสมมติ ดังนั้น ศิลปินที่ชาญฉลาดและนักบุญโดยสมมตินี้ต่างเป็นผู้ก้าวพ้นจากความรู้ความเข้าใจในระดับปรากฏการณ์ ๑๒ อย่างไรก็ตาม โชเพนเฮาเออร์ยกย่องดนตรีว่าเป็นศิลปะที่ต่างจากศิลปะอื่น ๆ เพราะมีความ เป็นตัวของตัวเองเด่นชัดที่สุด ศิลปะแขนงอื่น ๆ เพียงแค่บอกเราให้ทราบถึงวิญญาณศิลปินที่อยู่เบื้องหลัง ศิลปะ แต่ดนตรีกลับสามารถเจาะลึกเข้าถึงอารมณ์และแสดงออกซึ่งเจตจ� ำนงโดยตรงและนั่นคือเหตุผล ที่ท� ำให้ดนตรีมีพลังเข้มข้นมากกว่าศิลปะในแขนงอื่น ๆ โชเพนเฮาเออร์จึงเลือกที่จะเล่นดนตรีในยามว่าง โดยเฉพาะฟลูตเป็นเครื่องดนตรีที่เขาชื่นชอบมากที่สุดเขาจึงใช้เวลาว่างทุกวันเป่าฟลูตก่อนออกไปรับ ประทานอาหารกลางวันนอกบ้านเพื่อผ่อนคลายและลดความดิ้นรนในจิตใจ โชเพนเฮาเออร์คิดว่าศิลปะแม้จะช่วยมนุษย์ในการระงับเจตจ� ำนงแต่ก็ท� ำได้ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่ง ท� ำให้ความทุกข์หมดไปในขณะนั้น แต่ความทุกข์มิได้หมดไปอย่างถาวร ดังนั้นมนุษย์จ� ำเป็นที่จะต้องก้าว ต่อไปอีกในการที่จะมีความรู้ที่ดับเจตจ� ำนงอย่างถาวร ถึงกระนั้นศิลปะก็ยังมีความดีตรงที่ท� ำให้มนุษย์เห็นความแตกต่างระหว่างจิตในขณะที่ก� ำลัง เพ่งพินิจศิลปะซึ่งท� ำให้มนุษย์พ้นจากอ� ำนาจของเจตจ� ำนง และจิตที่หยุดเพ่งพินิจศิลปะนั้นกลับจะท� ำให้ มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อ� ำนาจของเจตจ� ำนง ซึ่งมีผลท� ำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับความทุกข์และดิ้นรนต่อไปใหม่ โชเพนเฮาเออร์คิดว่าหนทางที่จะท� ำให้ถึงจุดสิ้นสุดของเจตจ� ำนงไม่ใช่การฆ่าตัวตาย แต่เป็นการ ใช้ปัญญาหยั่งเห็นความจริงของโลกและสรรพสิ่ง จากนั้นจะต้องปฏิเสธการดิ้นรนซึ่งเท่ากับปฏิเสธเจตจ� ำนง ที่จะมีชีวิต จึงจะท� ำให้ใจสงบได้และสามารถปล่อยวางไม่มีความยึดถือและหมดความเห็นแก่ตัว ให้กระท� ำ เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนสามารถดับความดิ้นรนอย่างสมบูรณ์ ผู้ที่ไม่สามารถดับความดิ้นรน เมื่อตายไปเจตจ� ำนง ที่เป็นปัจเจกนั้นจะไปร่วมกับเจตจ� ำนงใหญ่ที่เป็นพลังมหาศาล แล้วก็ดิ้นรนต่อไปใหม่ด้วยความทุกข์ทรมาน ผู้ที่หยั่งเห็นความจริงนี้ได้เท่านั้นคือผู้รู้วิธีดับทุกข์อย่างถาวรและเข้าถึงความไม่มีอะไร (สุญวาท) ดังนั้น จากการศึกษาประวัติชีวิตของโชเพนเฮาเออร์ท� ำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับอุปนิสัยส� ำคัญ ของเขาในตอนวัยรุ่น สรุปได้มีดังนี้คือ ๑๒ Christopher Janaway. (1994). op. cit. pp. 5-6.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=