สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 60 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ที่เข้ามาในชีวิต ผู้ประสงค์ฆ่าตัวตายนั้นเขาท� ำลายได้แค่ปรากฏการณ์ของปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่ไม่สามารถ ท� ำลายตัวเจตจ� ำนงซึ่งเป็นแก่นแท้หรือสิ่งที่เป็นจริงในตัวเอง (thing-in-itself) ๘ ดังนั้นความทุกข์ยากและ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ในโลกตลอดไป คนที่มีชีวิตแบบป่วย ๆ ในทัศนะของโชเพนเฮาเออร์คือ คนที่มีชีวิตซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์ระทมและมีความขัดแย้งต่อสิ่งรอบตัว คนเหล่านี้ไม่มีวันที่จะได้รับ ชัยชนะจนกว่าเจตจ� ำนงของเขาไปอยู่ใต้บัญชาการของความรู้และปัญญา และการท� ำลายความชั่วร้ายให้ หมดไปได้นั้นก็ด้วยการมีปัญญาที่เกิดจากการเพ่งพินิจชีวิตและด� ำเนินชีวิตด้วยการเป็นผู้มีความรักที่ฝัง อยู่ในจิตใจ อีกทั้งจะต้องเป็นผู้สละความเห็นแก่ตัว โชเพนเฮาเออร์ได้เปรียบเทียบคุณธรรมเหล่านี้เปรียบ เหมือนกับน�้ ำหอมที่พรมรดไปทั่วโลกแห่งเจตจ� ำนงอันเป็นโลกที่มีแต่ความผิดพลาดและความโง่เขลา ๙ ซึ่งคนส่วนมากไม่ใคร่รู้ว่าสิ่งต่าง ๆ รอบตัวนั้นล้วนเป็นวัตถุของตัณหาที่ท� ำให้เกิดทุกข์ โชเพนเฮาเออร์ จึงเสนอแนวคิดให้ทุกคนลดเจตจ� ำนงลงให้ได้ เพราะว่าใครก็ตามที่ท� ำให้เจตจ� ำนงลดน้อยลงเท่าใด ความทุกข์ ก็จะลดน้อยลงเท่านั้น ฉะนั้นการมีความรู้บริสุทธิ์จนสามารถเห็นแจ้งในเรื่องความจริงแท้ย่อมท� ำให้พบกับ อิสรภาพอย่างแท้จริง ๑๐ โชเพนเฮาเออร์ได้เสนอหลักการส� ำคัญที่จะน� ำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์หรือการเข้าถึง ทางแห่งความรอดพ้นจากทุกข์ ซึ่งในที่นี้สรุปได้มี ๒ ประการคือ ๑. การด� ำเนินชีวิตแบบนักพรตด้วยการสละความต้องการทางโลกแล้วท� ำให้ความยินดีตายไป และท� ำให้ความร่าเริงและความดีใจตายตามไปด้วย นั่นคือการท� ำลายเจตจ� ำนงอันเป็นสาเหตุที่ท� ำให้เกิด ความทุกข์ เมื่อมนุษย์หมดสิ้นซึ่งความต้องการและความยึดถือยึดติดในตัวตนแล้วจะเห็นความไม่มีอะไร (nothingness) ซึ่งเป็นความไม่มีอะไรที่ไม่มีอะไรอีกต่อไป โชเพนเฮาเออร์กล่าวว่าชาวพุทธเรียกสภาวะ นี้ว่านิพพาน (Nirvana) ๑๑ ๒. การหลุดพ้นจากความทุกข์ด้วยการอาศัยศิลปะซึ่งเป็นสิ่งที่ท� ำให้มนุษย์ได้สัมผัสกับ สุนทรียภาพและท� ำให้ความรู้สึกไปหลอมรวมเป็นเอกภาพเดียวกับศิลปะได้ในชั่วขณะหนึ่ง และในช่วงที่ มนุษย์เพ่งพินิจศิลปะจนเกิดประสบการณ์สุนทรียะนั้นจะเกิดการหยั่งรู้ได้ว่ามนุษย์กับธรรมชาติต่างก็เป็น สิ่งเดียวกัน ภาวะที่มนุษย์ก้าวไปถึงจุดนี้จะท� ำให้พวกเขาหมดความทุกข์และหมดความปวดร้าวใจได้ใน ชั่วขณะหนึ่ง การเพ่งพินิจศิลปะอย่างจดจ่อโดยรับรู้ซึ่งความงามหรือรับรู้ซึ่งความกลมกลืนกันของเสียง จิตในขณะนั้น ๆ จะไม่เกิดความอยากได้เพราะตัวตนจะหายไป ท� ำให้สามารถหยุดยั้งการเกิดขึ้นของ ๘ Schopenhauer. (1819). The World as Will and Representation . Vol. 1. Translated by E.F.J. Payne. p. 398. ๙ Will Durant. (1961). The Story of Philosophy . p. 434. ๑๐ Ibid . p. 443. ๑๑ Schopenhauer. (1844). The World as Will and Representation. Vol. 2. Translated by E.F.J. Payne. p. 508.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=