สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

59 วนิ ดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ท� ำให้เกิดการดิ้นรนตลอดเวลาอย่างไม่มีจุดจบ ซึ่งเหมือนกับพลังตาบอดที่ดิ้นรนตลอดกาลอย่างไร้ทิศทาง ความทุกข์จึงไม่มีวันหมดไป โชเพนเฮาเออร์ได้สมมติถึงสังคมที่มีมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยไม่มีความอยาก ไม่มีความต้องการ เขาได้กล่าวถึงสังคมนั้นว่าจะมีแต่มนุษย์ซึ่งเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย โดยเขาได้ยกตัวอย่างโดยให้เราลอง จินตนาการถึงดินแดนในฝันที่เหมือนยูโทเปีย (Utopia) ซึ่งมีทุกอย่างพร้อม มีไก่งวงที่บินวนไปรอบ ๆ ตัว เราเพื่อพร้อมที่จะถูกย่าง มีคนรักที่เราพบได้ทันทีโดยไม่รีรอและปราศจากอุปสรรคขัดขวาง ในสถานที่ เช่นนี้เองเป็นที่ที่เราสามารถพบได้กับคนบางคนที่ต้องตายไปเพราะมีสาเหตุมาจากความเบื่อหน่าย เช่น ผูกคอตายและต่อสู้กันตาย สภาพเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ได้มากกว่าความทุกข์ที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งกระท� ำต่อมนุษย์ ๗ แนวคิดในเรื่องการฆ่าตัวตายและการหลุดพ้นจากความทุกข์ ศาสนาที่นับถือพระเจ้านั้นโชเพนเฮาเออร์คิดว่าล้วนเป็นศาสนาที่ต่อต้านการฆ่าตัวตาย โดย เฉพาะศาสนายิวมีแนวคิดที่ค่อนข้างรุนแรงถึงแก่ต� ำหนิว่าการฆ่าตัวตายเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เพราะ เป็นการท� ำลายตนเองและแสดงถึงความขี้ขลาดซึ่งมีแต่คนบ้าเท่านั้นที่กระท� ำเช่นนี้ โชเพนเฮาเออร์คิดว่าถ้า การฆ่าตัวตายเป็นอาชญากรรมดังนั้นก็น่าจะน� ำเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกับอาชญากรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การฆาตกรรมและการท� ำทารุณกรรมต่อผู้อื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกระท� ำเหล่านี้มักกระตุ้นผู้คนจนเกิดการ เรียกร้องให้มีบทลงโทษผู้กระท� ำให้สาสมหรือมีการแก้แค้นเพื่อตอบแทน ส่วนการฆ่าตัวตายนั้นสิ่งที่ตามมา คือ ผู้คนส่วนมากให้ความสงสารและเกิดความเศร้าใจต่อผู้ตาย พวกที่ชอบประณามคนฆ่าตัวตายส่วนมาก เป็นพวกนักบวชหรือคนสอนศาสนาที่ผู้คนในสังคมยกย่องและให้เกียรติไปยืนเทศนาต่อหน้าผู้คนทั้งหลาย แต่คนที่ฆ่าตัวตายซึ่งเป็นพวกสมัครใจในการจากโลกนี้ไปกลับถูกคนของศาสนาปฏิเสธที่จะให้มีการฝังศพ ตามพิธีกรรมทางศาสนาอย่างสมเกียรติ โชเพนเฮาเออร์คิดว่าการกระท� ำเช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเป็น อย่างยิ่งที่ใคร ๆ จะไปรุมลงโทษพวกฆ่าตัวตายโดยใช้หลักการทางศีลธรรม และการฆ่าตัวตายก็มิได้เกิดขึ้นมา ด้วยสาเหตุแห่งความคับแค้นในชีวิตเท่านั้น แม้พวกนักบวชในศาสนาตะวันออกที่ถือพรต อดอาหาร หรือมี การบ� ำเพ็ญทุกรกิริยาก็มีการปฏิบัติที่ถือได้ว่าเป็นการฆ่าตัวตายเช่นกัน โชเพนเฮาเออร์เชื่อว่าสภาพที่แท้จริง ของมนุษย์คือความทุกข์และการมีชีวิตอยู่ในโลกเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งกว่าความตายเพราะความตายคือ การหยุดความมีอยู่ของความทุกข์ แต่กระนั้นโชเพนเฮาเออร์ก็ไม่เห็นด้วยที่จะฆ่าตัวตายเพื่อหนีความทุกข์ การฆ่าตัวตายเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของการยืนยันอย่างเข้มแข็งของเจตจ� ำนงเพื่อปฏิเสธเงื่อนไขต่าง ๆ ๗ Ibid. p. 43.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=