สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 58 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 คิดว่าทุกอย่างในโลกนี้มีอยู่อย่างสัมพันธ์กันภายใต้หลักการที่เรียกว่า หลักแห่งเหตุผลที่เพียงพอ (Principle of Sufficient Reason) เขาได้พบว่าหลักการนี้ประกอบไปด้วย เวลา อวกาศ และความเป็นเหตุ เป็นผล มนุษย์ทุกคนมีโครงสร้างและกลไกของจิตที่เหมือนกันและมีแบบเดียวกันคือ หลักเหตุผลเพียงพอ การที่มนุษย์เป็นเช่นเดียวกับวัตถุอื่น ๆ คืออยู่ภายใต้หลักแห่งเหตุผลเพียงพอนี้ มนุษย์จึงรับรู้โลกได้โดย ผ่านกายของตน และความเป็นจริงที่มนุษย์ค้นหาก็พบได้ในกายนี้อีกเช่นกัน การกระท� ำของกายเกิด มาจากเจตจ� ำนงที่แสดงออกมา และทุกสิ่งก็เช่นกันล้วนเป็นการส� ำแดงออกของเจตจ� ำนง วัตถุทั้งหมด จึงมีอยู่อย่างเป็นปรากฏการณ์โดยมีเจตจ� ำนงเป็นแก่นของสรรพสิ่ง โชเพนเฮาเออร์เชื่อว่าเขาได้บรรลุเห็นความจริงแล้วว่าเจตจ� ำนงเป็นความจริงแท้สูงสุด ซึ่งมีความเป็นจริงในตัวเอง ซึ่งอยู่นอกเวลาและอวกาศและยังอยู่นอกหลักเหตุผลเพียงพอ เจตจ� ำนงมีความ เป็นอิสระและมีการดิ้นรนตลอดเวลา แต่ก็เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ทุกสิ่งที่มนุษย์เห็นและทุกสิ่งที่ปรากฏ ขึ้นมาในเอกภพล้วนแล้วแต่เป็นการส� ำแดงออกของเจตจ� ำนงในระดับต่าง ๆ โดยระดับต�่ ำสุดคือสิ่งไม่มีชีวิต สูงขึ้นมาคือ พืช สัตว์ และมนุษย์ ไปตามล� ำดับ เจตจ� ำนงในระดับที่สูงมากจะมีความทุกข์มาก มนุษย์ซึ่งมี เจตจ� ำนงในระดับสูงจึงมีทุกข์มากกว่าสัตว์ พืช และสิ่งอื่น ๆ เพราะมนุษย์ไม่เพียงแต่มีการรับรู้ได้เท่านั้น แต่ ยังสามารถคิดได้ด้วยเหตุผล ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีส� ำนึกที่เข้มข้นและมักสร้างความทุกข์ให้แก่ตนเอง ยิ่งกว่าได้รับความทุกข์จากธรรมชาติ เจตจ� ำนงในทัศนะของโชเพนเฮาเออร์เหนือกว่าปัญญาเพราะเจตจ� ำนงสร้างสมองซึ่งเป็นที่ตั้ง ของปัญญาและท� ำให้มนุษย์เกิดส� ำนึก อีกทั้งยังสามารถล้มแผนการต่าง ๆ ที่เหตุผลได้วางไว้ การที่ทุกอย่าง เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาก็เป็นผลมาจากการส� ำแดงออกของเจตจ� ำนง และความ เปลี่ยนแปลงนี้เองเป็นลักษณะแห่งการดิ้นรนของเจตจ� ำนงเพื่อความมีอยู่ โชเพนเฮาเออร์จึงเรียกว่า “เจตจ� ำนงที่จะมีชีวิต” (The-will-to-live) เมื่อทุกสิ่งดิ้นรนไปย่อมท� ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างระดับ ต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าพืชดิ้นรนให้ชีวิตรอดโดยดูดแร่ธาตุในดิน สัตว์ดิ้นรนให้มีชีวิตรอดโดยกินพืช มนุษย์ ดิ้นรนเพื่อชีวิตรอดโดยกินพืชและสัตว์ อีกทั้งยังต่อสู้กันเองอีกเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา ซึ่งจะพบได้ จากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้นมีการต่อสู้ฆ่าฟันกันตลอดเวลา จึงท� ำให้เกิดสงครามและความวุ่นวาย ในสังคม โชเพนเฮาเออร์คิดว่าสันติภาพเป็นเพียงแค่การหยุดพักและการหยุดพักจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมนุษย์ ผ่านการต่อสู้กับคนอื่น ๆ มาแล้ว ดังนั้นความกังวล ความเหนื่อยยากและความวุ่นวายล้วนแล้วแต่เป็นสิ่ง ที่มนุษย์ต้องเผชิญมาตลอดชีวิต และยังจะต้องเผชิญอีกต่อไป มนุษย์ไม่มีวันที่จะมีความสุขได้อย่างถาวร และความสุขที่เกิดขึ้นจากความพอใจมิใช่อะไรอื่นนอกจากความทุกข์ที่มีคุณค่าในเชิงบวก เมื่อใดก็ตามที่ มนุษย์ได้ในสิ่งที่สมปรารถนาแล้วมิใช่ว่ามนุษย์ได้บรรลุถึงจุดสิ้นสุดของความอยาก แต่พวกเขาจะต้องเกิด ความอยากใหม่อีกต่อไป ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์มีแก่นแท้คือเจตจ� ำนง ซึ่งมีลักษณะเป็นความอยาก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=