สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
57 วนิ ดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ผลงานส� ำคัญที่เกิดจากความมุ่งมั่น ผลงานของโชเพนเฮาเออร์มีทั้งหนังสือและบทความ แต่ผลงานที่ส� ำคัญและได้รับการตีพิมพ์ อย่างแพร่หลายมี ดังนี้ ๑. Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde (On the Fourfold Root of the Principle of Sufficient Reason) พิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๘๑๓ และพิมพ์ ปรับปรุงครั้งที่ ๒ ใน ค.ศ. ๑๘๔๗ ๒. Über das Sehn und die Farben (On Vision and Colors) พิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๑๖ ๓. Die Welt als Wille und Vorstellung (The World as Will and Idea) พิมพ์ครั้งแรก ใน ค.ศ. ๑๘๔๔ มี ๒ เล่ม และพิมพ์อีกเป็นครั้งที่ ๓ ใน ค.ศ. ๑๘๕๙ มี ๒ เล่ม ๔. Über den Willen in der Natur (On the Will in Nature) พิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๓๖ ๕. Über die Freiheit des Menschlichen Willens (On the Freedom of the Human Will) พิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๓๙ ๖. Über die Grundlage der Moral (On the Basis of Morality) พิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๔๐ ๗. Die Beiden Grundprobleme der Ethik (The Two Fundamental Problems of Ethics) พิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๔๑ ๘. Parerga und Paralipomena (Parerga and Paralipomena) ตีพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๘๕๑ ๖ จากการศึกษาประวัติและผลงานของโชเพนเฮาเออร์ ท� ำให้เห็นประเด็นส� ำคัญซึ่งเป็นแนวคิด ที่ท� ำให้เขาสามารถเผชิญกับปัญหาจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ของชีวิตและประสบกับความส� ำเร็จซึ่งมีดังนี้ ๑. แนวคิดในเรื่องโลกและชีวิต ๒. แนวคิดในเรื่องการฆ่าตัวตายและการหลุดพ้นจากความทุกข์ ๑. แนวคิดในเรื่องโลกและชีวิต ผลงานต่าง ๆ ของโชเพนเฮาเออร์นั้นได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของเพลโตและคานท์ อีกทั้งยัง ได้รับกระแสความคิดมาจากพระพุทธศาสนาและอุปนิษัทของศาสนาพราหมณ์–ฮินดู ทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้ โชเพนเฮาเออร์น� ำความคิดทั้งของตะวันตกและตะวันออกมาบูรณาการกันได้อย่างลงตัว ซึ่งท� ำให้เขาเชื่อ ว่าตนเองได้เข้าถึงความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์แล้วและเกิดการรู้แจ้งว่าโลกที่ปรากฏแก่ตานี้เป็นเพียงโลก แห่งปรากฏการณ์ เป็นมายาที่หาความแท้จริงไม่ได้เลย และเป็นโลกที่มีอยู่โดยถูกรับรู้ โชเพนเฮาเออร์ ๖ R.J. Hollingdale. (2004). p. 37.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=