สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 56 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ใน ค.ศ. ๑๘๔๐ โชเพนเฮาเออร์ได้สุนัขตัวใหม่เป็นพันธุ์พุดเดิล ซึ่งเขาตั้งชื่อให้ว่า “อาตมา” (Atma) ตามชื่อที่เรียกวิญญาณสากลในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ชีวิตของเขายังคงด� ำเนินไปตามกิจวัตรที่ ก� ำหนดไว้ ซึ่งท� ำให้เขามีความสงบเพราะไม่ต้องมีชีวิตที่เร่งร้อน อาจจะมีบางช่วงเวลาที่เขาอาจหงุดหงิด อยู่บ้างคือ ตอนที่หญิงรับจ้างท� ำความสะอาดมาปัดฝุ่นพระพุทธรูปในห้องเขียนหนังสือทั้ง ๆ ที่เขาได้สั่งไว้ แล้ว ๕ ว่าห้ามแตะต้องพระพุทธรูป และอีกช่วงหนึ่งคือตอนที่เขาไปฟังคอนเสิร์ตแล้วมีผู้ท� ำเสียงดังในขณะ ที่เขาก� ำลังเพลิดเพลินกับบทเพลง ใน ค.ศ. ๑๘๕๐ อาตมาตาย โชเพนเฮาเออร์ได้สุนัขพุดเดิลตัวใหม่ เขาให้ชื่อว่า บุทซ์ (Butz) ในช่วงชีวิตบั้นปลายนี้โชเพนเฮาเออร์มีผลงานแพร่หลายและเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วยุโรป มีผู้มาเยี่ยมเยียน เขามากมาย บางคนที่มาไม่ได้ก็ส่งจดหมายมาแสดงความยินดีและชื่นชมในตัวเขา ผู้หญิงหลายคนให้ ความสนใจในตัวเขาโดยเฉพาะช่างแกะสลักหญิงที่ชื่อว่า เอลิซาเบท เนย์ (Elisabet Ney) มีความชื่นชม ในตัวเขามากจนถึงขนาดขออาศัยในอะพาร์ตเมนต์ของเขาเพื่อแกะสลักรูปเหมือนตัวเขาแบบครึ่งตัว ชีวิตในตอนบั้นปลายนี้จึงต่างจากช่วงวัยหนุ่มที่มีแต่ความทุกข์ระทมและความสิ้นหวังในความรัก ใบหน้า ของโชเพนเฮาเออร์ในวัยหนุ่มไม่ใคร่มีรอยยิ้มมากนัก ส่วนนัยน์ตานั้นคอยจับจ้องระแวงระวังภัยอยู่เสมอ การที่เป็นคนขี้สงสัยและมองโลกในแง่ร้ายได้ท� ำให้เขาต้องมีปืนวางไว้ใกล้ตัว หรือแม้แต่เวลาตัดผมเขาก็กลัว ช่างตัดผมจะปาดคอด้วยมีดโกน โชเพนเฮาเออร์ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีแม่ ไม่มีญาติ ไม่มีภรรยา และลูก ไม่มีแม้แต่เพื่อน เขาใช้ชีวิตอย่างยาวนานโดยไม่ได้รับความใส่ใจและการยกย่องจากใครเลย ความผิดหวังในชีวิตเกิดขึ้นซ�้ ำแล้วซ�้ ำเล่า แต่พอถึงบั้นปลายของชีวิต ชื่อเสียงและเกียรติยศก็เกิดขึ้นมา ซึ่งท� ำให้เขามีความปีติยินดี ทั้งนี้เป็นเพราะผลงานทางปรัชญาที่เขาตั้งใจเขียนอย่างมุ่งมั่นเพื่อเผยแพร่ แนวคิดนั้นได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายไปทั่วยุโรป ชีวิตที่มีแต่ความขมขื่นกลับกลายเป็นชีวิตที่มีแต่ ความนิยมยินดีจากสังคม ในขณะนั้นผลงานของเขามีอิทธิพลต่อนักคิดและนักดนตรีตะวันตกหลายคน เช่น ฟรีดริช วิลเฮล์ม นีทซ์เชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) ลุดวิก โยเซฟ โยฮันน์ วิทท์เกนชไตน์ (Ludwig Josef Johann Wittgenstein) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) คาร์ล ยุง (Carl Jung) เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) และโทมัส มันน์ (Thomas Mann) ต่อมา โชเพนเฮาเออร์มีสุขภาพที่แย่ลงเรื่อย ๆ ในที่สุด เขาเสียชีวิตอย่างสงบหลังจากที่ได้รับ ประทานอาหารเช้าแล้วและยังคงนั่งอยู่ที่เก้าอี้ตามล� ำพังเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ค.ศ. ๑๘๖๐ ขณะนั้นเขา มีอายุได้ ๗๒ ปี ๕ แหล่งเดิม . หน้า ๒๓๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=