สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรั ชญาของโชเพนเฮาเออร์ (Schopenhauer) 54 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 Reason” อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหลักเหตุผลเพียงพอ ซึ่งเป็นแบบแผนเดียวที่ท� ำให้ทุกสิ่งมีขึ้นมาได้ การที่เขาเขียนเรื่องนี้ก็เพื่อเสนอแนะแนวคิดที่ว่ากลไกของมนัสหรือจิตนั้นมิได้มี ๑๒ วิภาค ตามที่ คานท์เชื่อหากแต่มีวิภาคเดียวนั่นคือ วิภาคแห่งเหตุผลเพียงพอ ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีเหมือนกันหมด ๒ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ท� ำให้เขาได้รับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเยนา ต่อมาโชเพนเฮาเออร์มีความขัดแย้งกับมารดาจนเกิดการทะเลาะกันอย่างรุนแรง มารดาของ เขาเกิดโทสะและได้ผลักโชเพนเฮาเออร์ตกจากบันได โชเพนเฮาเออร์รู้สึกขื่นขมต่อชีวิตจึงออกจากบ้านไป นับแต่นั้นมาทั้งสองคนก็ไม่ได้พบหน้ากันอีกเลย ซึ่งในขณะที่เกิดเรื่องรุนแรงนี้โชเพนเฮาเออร์มีอายุได้ ๒๖ ปี เขาออกจากเมืองไวมาร์ไปอยู่ที่เมืองเดรสเดน (Dresden) และได้เขียนหนังสือ The World as Will and Idea อยู่หลายปี หนังสือเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์จนกระทั่งตีพิมพ์เป็นเล่มใน ค.ศ.๑๘๑๘ แต่ที่ปกของ หนังสือกลับพิมพ์เป็น ค.ศ.๑๘๑๙ หนังสือเล่มนี้แสดงออกซึ่งระบบความคิดอันสมบูรณ์ทางปรัชญาของ โชเพนเฮาเออร์และเขาเชื่อว่าเขาได้พบค� ำตอบต่อปัญหาทางปรัชญาแล้ว แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่หนังสือ เล่มนี้ไม่มีใครซื้อเลยหรือแม้แต่การวิจารณ์ก็ไม่มี ถึงกระนั้นเขาก็มิได้ท้อถอยเพราะมีความเชื่อมั่นว่าปรัชญา ของเขาได้เปิดหนทางแห่งความเป็นจริงและแนวคิดทางอภิปรัชญาของเขานั้นมีความถูกต้องและสมบูรณ์ แบบที่สุด เขาเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้สามารถเข้าถึงความเป็นจริงอันสูงสุดนี้ได้เป็นคนแรกทั้ง ๆ ที่ในสมัยนั้น นักปรัชญาหลายคนโดยเฉพาะคานท์ไม่ยอมรับที่ว่าจะมีใครสามารถเข้าถึงความจริงอันสูงสุดได้เพราะต้อง ถูกโครงสร้างของสมองบิดเบือนไปทุกครั้ง และนักปรัชญาหลายคนที่เห็นด้วยกับคานท์ต่างปฏิเสธความมี อยู่ของอภิปรัชญา แต่โชเพนเฮาเออร์กลับเชื่อมั่นว่าตนเองได้ค้นพบความเป็นจริงอันสูงสุดนี้แล้ว ซึ่งมิใช่ พระเจ้าอย่างที่หลายคนเชื่อหากแต่ว่าเป็นพลังดิ้นรนที่เรียกว่า เจตจ� ำนง (the will) ซึ่งเป็นรากฐานส� ำคัญ ที่มีอยู่ในสรรพสิ่งและเป็นพลังที่อยู่เหนือเหตุผล อีกทั้งยังมีอ� ำนาจที่สามารถล้มแผนการทั้งหมดของเหตุผล เขามีความเชื่อมั่นว่าสักวันหนึ่งแนวคิดของเขานี้จะต้องเป็นที่ยอมรับ สังคมจะต้องเข้าใจในความคิดอัน สมบูรณ์แบบนี้และเขาจะต้องเป็นผู้มีชื่อเสียงต่อไป ความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเป็นคนมีชื่อเสียงได้ ท� ำให้เขาเกือบเป็นโรคประสาทในเวลาต่อมา ต่อมาโชเพนเฮาเออร์ได้ย้ายไปที่กรุงเบอร์ลินและได้มีโอกาสบรรยายวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัย เบอร์ลิน ด้วยความมั่นใจที่คิดว่าตนเองจะสามารถสู้กับเฮเกล (Hegel) ได้จึงท� ำให้เขาเลือกตารางการ บรรยายตรงกับเวลาของเฮเกล ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าฟังการบรรยายในชั้นเรียนของเขาเพียง ๓ คนเท่านั้น แต่ในชั้นเรียนของเฮเกลมีนักศึกษาฟังบรรยายถึง ๓๐๐ คน โชเพนเฮาเออร์รู้สึกเสียใจและผิดหวังเป็น อย่างมาก เขาจึงตัดสินใจออกจากกรุงเบอร์ลินไปท่องเที่ยวในประเทศอิตาลีแล้วก็กลับมาที่กรุงเบอร์ลิน ๒ Christopher Janaway. (1994). Schopenhauer . p. 4.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=