สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

53 วนิ ดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เมื่อกลับจากยุโรปแล้วโชเพนเฮาเออร์ได้ฝึกงานเป็นเสมียนในบริษัทของครอบครัวนานถึง ๔ เดือน บิดาก็มาเสียชีวิต ศพของบิดาถูกพบในคลองใกล้กับกุดังสินค้าของครอบครัวและดูเหมือนกับว่า เป็นการฆ่าตัวตาย โชเพนเฮาเออร์ในขณะนั้นมีอายุ ๑๗ ปี และมีประสบการณ์ทางการค้าน้อยมาก การตาย ของบิดามีส่วนท� ำให้เขาถอดใจไม่อยากเป็นพ่อค้าอีกต่อไป แต่กระนั้นเขาก็พยายามที่จะท� ำตามความตั้งใจ ของบิดาโดยด� ำเนินธุรกิจที่บิดาได้วางรากฐานไว้ให้ทั้ง ๆ ที่เขามีความทุกข์ใจเป็นอย่างมากจนไม่สามารถ เรียนหนังสือได้อีกต่อไป ต่อมาบ้านของตระกูลโชเพนเฮาเออร์ต้องถูกขายไป มารดาและน้องสาวได้พา กันย้ายไปอยู่ที่เมืองไวมาร์ (Weimar) อันเป็นศูนย์กลางทางด้านวรรณกรรมของเยอรมนีในสมัยนั้น โชเพนเฮาเออร์รู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งให้เผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ ตามล� ำพัง ความทุกข์และความ สิ้นหวังได้เกิดขึ้นในใจ ท� ำให้เขารู้สึกเกลียดงานเสมียนและเกลียดโลกของพ่อค้า เขาตัดสินใจทิ้งอาชีพพ่อค้า และกลับไปศึกษาต่อที่เมืองไวมาร์โดยอาศัยอยู่กับมารดาและน้องสาว มารดาของเขาเป็นคนชอบสังคม จึงไม่ใคร่มีเวลาให้กับเขามากนัก ท� ำให้โชเพนเฮาเออร์มีอิสระอย่างมากมายในการใช้ชีวิตแบบลูกคนรวย ที่บิดาทิ้งมรดกไว้ให้และชอบท� ำอะไรตามใจตนเอง เขามักจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับมารดาอยู่เสมอ และไม่เคยชื่นชมในวิถีชีวิตของมารดาที่ชอบมีอิสรภาพในความรัก อย่างไรก็ตาม มารดาของเขาเป็นพลัง ส� ำคัญที่ท� ำให้เขาทิ้งชีวิตพ่อค้าและกลับไปศึกษาต่อ ท� ำให้มีโอกาสอยู่ในสังคมปัญญาชนซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นเพื่อนของมารดาทั้งนั้น โดยเฉพาะโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท (Johann Wolfgang von Goethe) เป็นบุคคลที่สนิทสนมและมีอิทธิพลต่อโชเพนเฮาเออร์มากจนน� ำไปสู่งานเขียนที่มีชื่อเสียงใน ค.ศ. ๑๘๑๖ ที่ชื่อว่า “Über Sehn und die Farben” (On vision and Colors) ใน ค.ศ. ๑๘๐๙ โชเพนเฮาเออร์ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Göttingen) ขณะนั้น เขาอายุได้ ๒๑ ปี เขาเลือกศึกษาทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ แต่พอถึงภาคการศึกษาที่ ๓ เขาตัดสินใจเปลี่ยนไปศึกษาทางปรัชญาและได้ศึกษาปรัชญาคลาสสิก (classic) อย่างลุ่มลึก โดยเฉพาะ ปรัชญาของเพลโต (Plato) และคานท์ (Kant) อีกทั้งยังศึกษาแนวคิดในพระพุทธศาสนาและคัมภีร์อุปนิษัท ของศาสนาฮินดู ซึ่งมีอิทธิพลต่อแนวคิดของเขาในเวลาต่อมา ๑ ใน ค.ศ. ๑๘๑๑ โชเพนเฮาเออร์ตัดสินใจย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (Berlin) เพื่อ จะได้ฟังการบรรยายของฟิชเทอ (Fichte) และชไลเออร์มาเคอร์ (Schleiermaker) ขณะนั้นเขาศึกษา ในสาขาวิทยาศาสตร์และวรรณคดี ใน ค.ศ. ๑๘๑๓ เขามีอายุได้ ๒๕ ปี และพร้อมที่จะเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก เพื่อน� ำเสนอต่อมหาวิทยาลัยเยนา (Jena) เรื่อง “The Fourfold Root of the Principle of Sufficient ๑ Ted Honderich. (1995). The Oxford Companion to Philosophy . p. 802.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=