สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
47 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ‘ไร้สินสิ้นอับแสง ปัญญา อีกญาติวงศ์พงศา บ่ใกล้ คนรักย่อมโรยรารสรัก กันแฮ พบแทบทางท� ำใบ้ เบี่ยงหน้า เมินหนีฯ’ พันเอก พระยาสารสาสนพลขันธ์ คนเยอรมันจาก วิถีชีวิตเดิมชาวเยอรมัน แท้ ๆ เป็นท่านแรก ที่ได้รวบรวมคตินิยมไทยออกเป็นสุภาษิตไทย กล่าวไว้ตอนหนึ่งความว่า ‘สุภาษิตไทยแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ไทอัธยาศัย อุปนิสัยใจคอ และความคิดอ่านอันเฉียบแหลม แห่งความเป็นไทยแนวคตินิยมไทย ค่านิยม ไทย ในวิถีไทยอย่างดีเลิศ” ๑๐ ๔. ความส่งท้าย ท้ายสุดนี้ ผู้เขียนขอเชิญชวนท่านผู้อ่านได้ช่วยกันศึกษาวิเคราะห์และตระหนักใน วัฒนธรรม การศึกษาไทย จากค� ำกล่าวเหน็บแนมแถมเย้ยหยันท� ำนองว่า “คนไทยทันสมัยแต่ไม่พัฒนา” และ น้อมร� ำลึกถึงความในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภกับ พระอนุชาทั้ง ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และ สมเด็จกรมพระยา ด� ำรงราชานุภาพ ภายหลังเสด็จกลับจากประเทศทางยุโรป ได้ทรงแสดงพระราชด� ำริเกี่ยวกั บวัฒนธรรม การศึกษา พร้อมคุณค่าและเหตุผลในการจัดการศึกษาของชาติกับพระศาสนาคู่กัน ใจความตอนหนึ่งว่า ‘การศึกษาก็เพื่อพัฒนาความเป็นไทยในวัฒนธรรมไทยให้ถูกทาง ต้องท� ำให้ไทยเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ เป็นตัวของตัวเองได้ พึ่งพา ตนเองและพึ่งพากันแลกันได้...หลักการของวัฒนธรรมการศึกษา ต้องให้คน เข้าถึงคุณค่าการเรียนรู้ รู้แล้วต้องท� ำได้ ต้องมีความคิดความอ่านให้ลุ่มลึก ยาวไกล ถี่ถ้วนทันคน เป็นไท ต้องเลือกสรรให้เป็น และหมายมั่นว่า จะได้ใช้ให้ เกิดประโยชน์สุขในบ้านเมืองเราได้หรือไม่ หรือว่าจะต้องยักย้ายอยากให้เป็น เหมือนเขา เดินตามรอยเท้าเขา เห็นเขาคิดอะไร เชื่ออะไร ท� ำอะไร นิยมอะไร จะเอาอย่างไปหมด ไม่ใช้ไตร่ตรองวิเคราะห์วิจัย คัดสรรกลั่นกรอง ให้ละเอียด ๑๐ คัดจากงานวรรณกรรมของพระครูวินัยธรประจักษ์ (จ� ำปาทอง). พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ ๒๕๔๕ หน้า ๓๖-๓๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=