สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปรั ชญาวั ฒนธรรม 46 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๒) คุณค่าทางสังคม เป็นคุณค่าที่คนหมู่มากในสังคมหนึ่ง ๆ ชาติหนึ่ง ๆ พร้อมกันยอมรับนับถือ และเลือกเป็นแบบอย่างแนวทางการครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนินชีวิตรวมร่วมกัน คุณค่าบางเรื่องผ่านเวลา ยาวนานสืบทอดกันมาจากบรรพชนถึงอนุชนรุ่นต่อมาและรุ่นต่อไป ๓) คุณค่าสากลหรือทั่วไป เป็นคุณค่าที่ไม่อยู่ในกรอบจ� ำกัดของวัฒนธรรมและสังคมใด ๆ ไม่หวงแหนผูกขาดไว้ส� ำหรับบุคคล สังคม และ เชื้อชาติเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก เป็นคุณค่าน� ำพามนุษย์ข้ามพ้นเขตแดนแห่งความเป็นเขาเป็นเรา เป็น ตัวกูของกู ไร้มิติทางกาลเวลา สถานที่ และชุมชน เป็นคุณค่าแห่งความเป็นธรรม ยุติธรรม ความรัก ความสงบสุข ภราดรภาพ เอกภาพ และเสรีภาพ ความดี ความงาม คุณประโยชน์โดยปราศจากเงื่อนไขและคุณค่าสูงสุดคือ คุณค่าแห่งความ เป็นมนุษย์และความสิ้นทุกข์ ปรัชญาเมธีจีนสอนคุณค่าสูงสุดคือ ความฉลาดกับความดี เป็นหนึ่งเดียวกัน เตือนลูกจีน หลานจีนให้เป็นคนใจกว้างฉลาดค้นหา รับ เลือก วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ก่อนถือเอาปรัชญาวัฒนธรรม อื่นเข้ามารวมกับปรัชญาวัฒนธรรมจีนที่ปรับแล้วเหมือนกัน ให้ เป็นของจีน ดังค� ำแนะน� ำของท่านขงจื๊อ ใจความตอนหนึ่งว่า ‘พึงสังวรให้จงดีเอาไว้เสมอ อย่าทิ้งของเก่าอย่ามัวเมาของใหม่ สิ่งเก่าใช่ว่าจะ ทรงคุณค่าทั้งหมด และสิ่งใหม่ก็ใช่ว่าจะไร้คุณค่าเสียทั้งหมด ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือกเฟ้น คัดสรร กลั่นกรอง ด้วยเหตุผล ถือเอาแต่คุณค่าส่วนดีให้คุณประโยชน์ ไม่ว่าสิ่งเก่าหรือสิ่งใหม่ ต่อเมื่อได้ทดสอบ ทดลองชิมดูดีแล้ว จึงปลงใจรับ ที่ส� ำคัญยิ่งอีกคือ ต้องรู้เขารู้เราใจเขาใจเรา..’ ๙ อนึ่ง แม้ปรัชญาเมธีไทยยังได้แนะน� ำพร�่ ำสอนเป็นนักเป็นหนาซึ่งคตินิยมไทยให้ลูกไทย หลานไทย ด้วยสุภาษิตค� ำกลอนอีกข้อหนึ่งในหลากหลายคตินิยม เพื่อพัฒนาคุณค่าความเป็นไทยแนว วิถี-วัฒนธรรมไทย “...เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ อย่าใฝ่เอาของรัก ท่าน อย่าริอ่านแก่ความ ประพฤติตามบูรพระบอบ เอาแต่ชอบละ ผิด อย่ากอบกิจเป็นพาล อย่าอวดหาญแก่เพื่อน...อย่าใฝ่สูงเกินศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย...อย่าประมาท ท่านผู้ดี มีสินอย่างอวดอ้าง ผู้เฒ่าสั่งจงจ� ำความ ...สู้เสียสินอย่า เสียศักดิ์...” ๙ Lin Yutang (Ed.). The Wisdom of China, Jaico Publishing House, Bombay 1964 pp. 29-31

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=