สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
45 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ อนึ่ง คุณค่าให้เกิดกิจกรรมหรือการประกอบกรรมหนึ่ง ๆ ของมนุษย์ ย่อมมุ่งหมายเพื่อกิจกรรม นั้น ๆ และเป็นวิถีสู่กิจกรรมอื่น ๆ ต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ กิจกรรมทุกอย่างทุกด้านทุกระดับ จึงอยู่ใน ระบบและกระบวนความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกัน ระหว่าง วิถีกับสิ่งมุ่งหมาย ลักษณะเทียบได้ กับหลัก ปฏิจสมุปบาท ของพุทธปรัชญา ในปรัชญาตะวันตกนั้น จอมปราชญ์ อาริสโตเติล ๘ ได้แสดงทรรศนะลักษณะ เดียวกันนี้ว่า สิ่งมุ่งหมายที่ดีมีคุณค่าของทุก ๆ กิจกรรม จะต้องสิ้นสุดลงที่สิ่งมุ่งหมายใดสิ่งมุ่งหมายหนึ่ง จนได้ ที่หมู่มนุษย์พากันนิยมถือเป็น สิ่งมุ่งหมายสูงสุดทรงคุณค่าสูงสุด เป็นคุณค่าสากล รวมเอาสิ่งดี ๆ ที่สุด ทุกอย่างในชีวิตมนุษย์ประมวลหลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็น สิ่งประเสริฐสุด (SummumBonum) เป็น สิ่งสุดท้าย ปลายทางของ วิถีชีวิตมนุษย์ (Human Culture) โดยสรุป งานชีวิตหรือกิจกรรมในวิถีชีวิตมนุษย์ จัดแบ่งตามลักษณะและระดับของคุณค่าได้ ๓ ประการคือ ๑) กิจกรรมบางอย่าง ทรงคุณค่าและให้คุณค่าเพียงเพื่อเป็นวิถีสู่กิจกรรมอื่น ๆ ต่อไปเท่านั้น ลักษณะนี้เรียก คุณค่านอกตัว ๒) กิจกรรมบางอย่าง ทรงคุณค่าและให้คุณค่าเพื่อตัวกิจกรรมนั้นๆ เอง และให้เป็นวิถีสู่กิจกรรม อื่นด้วย ความกล้าหาญทางจริยธรรม ความมีวินัย น� ำพาสู่ความ เป็นธรรม ความยุติธรรม ความสงบสุข ความสามัคคีปรองดอง และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชาติบ้านเมือง ลักษณะนี้เรียกคุณค่า ในตัวและนอกตัว ๓) กิจกรรมบางอย่าง ให้คุณค่าเพื่อตัวกิจกรรมเองเท่านั้นและสิ้นสุดเท่านี้ ไม่เป็นวิถีสู่คุณค่า อื่นสิ่งมุ่งประสงค์อื่นอีกต่อไป เป็นคุณค่า สมบูรณ์สูงสุดและประเสริฐสุด ในพุทธปรัชญาวัฒนธรรม คุณค่า อันเป็นความมุ่งหวังสูงสุดคือ ความสิ้นทุกข์ ทั้งนี้ คุณค่าและค่านิยม ย่อมถือตาม ปรัชญาวัฒนธรรม ของ แต่ละสังคม ชนชาติ เผ่าพันธุ์ และยุคสมัย ขอย�้ ำความอีกครั้ง ปรัชญาวัฒนธรรม ถือคุณค่าและค่านิยมเป็นประเด็นหลัก แนวคุณวิทยา โยงคุณค่าแห่งความถูกต้องดีงามทาง จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ และโยงถึงคุณค่าแห่งความจริง ทาง ภววิทยา คุณค่าแห่งความรู้ทางญาณวิทยาและคุณค่าแห่งเหตุผลทาง ตรรกศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ใจความสรุปแล้วได้คุณค่า ๓ มิติคือ ๑) คุณค่าส่วนบุคคล เป็นคุณค่าทางนิสัยอุปนิสัยส่วนบุคคล หรือประมวลประสบการณ์ ส่วนบุคคล ถือเป็นคุณลักษณะและอัตลักษณ์ของบุคคล ที่แต่ละคนเห็นดีเห็นงาม นิยมชมชอบเชื่อถือใน การครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนินวิถีชีวิต ถึงกระนั้นก็ควรต้องไม่ละทิ้งคตินิยมไทย ๆ ‘ให้ค� ำนึงถึงหัวอกเขา หัวอกเราเสมอ’ ที่โยงชีวิตส่วนตนสู่ชีวิตผู้อื่น ๘ ศึกษาเพิ่มเติมใน Ross, Sir.D. (Ed.). The Works of Aristotle Vol .I.chap.V. Oxford University Press 1937 pp. 351-365
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=