สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปรั ชญาวั ฒนธรรม 44 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 วัฒนธรรมคติธรรม เพื่อสนองคุณประโยชน์แห่งการใช้สอยให้ความสะดวกสบายและมั่งคั่งมั่นคงทาง กายภาพหรือ วัตถุธรรม ส่วนวัฒนธรรมคติธรรมมุ่งสนองคุณค่าทางจิตใจ หล่อเลี้ยง บ� ำรุง ปรุงแต่ง ปรับแต่ง ทางกาย วาจา จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด ปัญญา และความเชื่อ ให้มั่นคง ลุ่มลึก และละเอียด กว้างไกลและสงบสุขสง่างามออกไปไม่สิ้นสุด วัฒนธรรมคติธรรมแสดงคุณค่าออกมาทางศาสนา ปรัชญา สัจธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม ความกล้าหาญทางจริยธรรม สัจการแห่งตน จิตส� ำนึกอะไรดีอะไรชั่ว อะไรคุณอะไรโทษ อะไรถูกต้องอะไรผิด อะไรงามอะไรน่าเกลียด อะไรน่ารักอะไรน่าชัง อะไรประโยชน์มิใช่ประโยชน์ อะไรควรมิควร อะไรยุติธรรม อยุติธรรม การบ้านการเมือง จารีตประเพณี กฎหมาย ระเบียบกติกา ภาษา วรรณกรรม กิริยามารยาท ศิลปกรรม เสริมแต่ง เช่น ประติมากรรม จิตรกรรม สถาปัตยกรรม ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ ที่รวมลงใน คุณค่าแห่งความงาม ความมีชีวิตจิตใจ ดังค� ำพังเพย ‘ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง’ ยิ่งกว่านี้ วัฒนธรรมคติธรรมทรงคุณค่าในการปลูกฝัง สร้างเสริม ปรุงแต่ง และพัฒนาคนในชาตินั้น ๆ ให้ ได้คุณสมบัติ คุณลักษณะ บุคลิกลักษณะ และอุปนิสัยใจคอ เป็นคนเช่นไร แบบไหนอย่างไร อารยชนหรือ อนารยชน เป็นแบบคนหรือเป็นแบบสัตว์ ขยันหมั่นเพียรหรือเกียจคร้าน ระเบียบเรียบร้อยหรือหยาบคาย ผู้ดีหรือผู้ร้าย ฉลาดเฉลียวหรือโง่เขลาเบาปัญญา เข้มแข็งหรืออ่อนแอ เคารพปฏิบัติตามหรือละเมิดเหยียบ ย�่ ำกฎหมายบ้านเมือง มัธยัสถ์หรือฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย นอบน้อมถ่อมตนหรือหยิ่งยโสโอหัง เสพติดอ� ำนาจ นิยม ศักดินานิยมหรือมนุษยนิยม อุปถัมภนิยมหรืออัตนาถนิยม และมีคุณลักษณะอื่นด้วยคุณค่าแห่งความ เข้มแข็งอดทน หนักแน่นมั่นคง สุขุมเยือกเย็น สะอาดสว่างสงบ ทั้งหลายทั้งปวงลักษณะนี้คือ คุณค่า เพื่อความเป็นมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่า เจริญทั้งทางคติธรรมและวัตถุธรรมไปพร้อม ๆ กันในวิถีชีวิตของสัตว์พิเศษ ชนิดหนึ่งที่ได้ชื่อว่า เวไนยสัตว์-สัตว์วัฒนธรรม วัฒนธรรมของมนุษย์มีลักษณะหลากหลายดังกล่าวมาแล้ว ต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง เอาอย่าง กันบ้าง คล้ายกันบ้าง ลอกเลียนแบบอย่างกันบ้าง เหตุเพราะมนุษย์ ‘ย่อมต่างจิตต่างใจ ไม้ล� ำเดียวกัน ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ’ ต่างคตินิยม คติธรรม ปรัชญา ศาสนา ต่างระดับการศึกษาอบรม และ เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ สภาวะแวดล้อม การครองชีวิตจะให้ตรงกันเหมือนกันและลักษณะเดียวกันทุกเรื่อง ทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ กระนั้น มวลมนุษย์ทุกชาติทุกวัฒนธรรมยังถือ คุณค่า และค่านิยมประการหนึ่ง เหมือนกันและตรงกันคือ คุณค่าความเป็นมนุษย์ ผู้มุ่งด� ำเนินวิถีชีวิตด้านคติธรรม ตามด้วยวัตถุธรรม แนว ปรัชญาวัฒนธรรมแห่งอารยวิถี-อริยมรรค ที่มนุษย์ควรต้องมี คือ สุขภาพกับอิสรภาพ อันเป็นคุณค่าสูงยิ่ง ในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกสิ่งใด ๆ เรื่องใด ๆ พฤติกรรมใด ๆ ที่ควรค่าแห่งความจริง ความถูกต้องดีงาม และประโยชน์สุข ทั้งหมดย่อมต้องเริ่มด้วย ความสมัครใจ เจตจ� ำนงเสรี ไม่ใช่ด้วย การบีบบังคับ ข่มขู่ ขืนใจ ข่มเหง เช่นนี้ถือเป็นลักษณะพื้นฐานและส� ำคัญที่สุดในเรื่องคุณค่าและค่านิยม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=