สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

43 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ คุณค่าและค่านิยม ถือเอาความจากค� ำบาลี-สันสกฤต ‘คุณวิทยาหรืออัคฆวิทยา’ สาขาหนึ่ง ของวิชาปรัชญา เทียบความหมายได้กับค� ำศัพท์ภาษาอังกฤษ ‘Value - Axiology’ ที่แปลงมาจาก รากศัพท์กรีก ‘axios’ หมายถึงคุณค่าและสิ่งทรงคุณค่า ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความประเสริฐสุข ในการครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนิน อารยวิถี ให้ได้ ชีวิตเป็นแบบ มนุษย์ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม คุณวิทยา ในที่นี้มีความหมายและเนื้อหาสัมพันธ์โดยตรงกับ จริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ ทั้งยังเชื่อมโยงถึง ภววิทยา ญาณวิทยา และตรรกศาสตร์ อีกด้วย ดังนั้น คุณค่าและค่านิยม จึงหมายถึง ‘สิ่งนามธรรม หรือคติธรรมที่ให้เกิดคุณงามความดี มีคุณมีประโยชน์ ประจ� ำอยู่ในสิ่งนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ บุคคลนั้น ๆ ที่มนุษย์เห็นดีเห็นงามและนิยมถือเป็นอุดมการณ์ อุดมคติ หลักการและแนวทาง หรือเครื่องช่วย คัดเลือกตัดสินใจตกลงใจก� ำหนดและประเมินความประพฤติหรือพฤติกรรม หรือการประกอบกิจกรรม ด้านต่าง ๆ ให้ได้คุณประโยชน์และความสุขความเจริญรุ่งเรือง ในวิถีชีวิตของสัตว์ประเสริฐชนิดหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่า สัตว์วัฒนธรรม’ คุณค่า ให้คุณอย่างเดียว แต่เมื่อแปลงเป็น ค่านิยม และ รสนิยม อาจให้คุณหรือให้โทษก็ได้ คุณค่าและค่านิยมเป็นนามธรรม เกี่ยวกับความรู้สึก นึกคิดจิตใจ ปัญญา และความเชื่อของมนุษย์ ไม่ใช่ เพื่อสนองการใช้สอยทางวัตถุโดยตรง แต่เป็นคุณประโยชน์ในการปลูกฝังและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็น มนุษย์สมชื่อ และเป็นคุณสมบัติของจิตใจ-เป็นคุณค่าทางความจริง ความรู้ เหตุผล คุณธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม ความถูกต้อง ความดี และความงาม คุณค่าทางจิตใจนี้นี่เองเรียกว่า วัฒนธรรมคติธรรม ที่มา และเป็นพลังก� ำหนดสร้างสรรค์คุณค่าทางวัตถุที่เรียกว่า วัฒนธรรมวัตถุธรรม อีกต่อหนึ่ง โดยก� ำหนดและ ประเมินสิ่งสร้างสรรค์ขึ้น ให้มีคุณค่าเป็นที่ นิยม กันในหมู่มนุษย์ เรียกว่า ค่านิยม น� ำมาถือเป็นหลักการ และแนวทางประพฤติปฏิบัติในวิถีชีวิต ต้องตามสถานภาพและบทบาทหน้าที่ด้านต่าง ๆ สนองสิ่งประสงค์ ต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ต่อไป คุณค่า ของสิ่งนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ ด้านนั้น ๆ และ ระดับนั้น ๆ ที่สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น ให้เป็นที่ นิยมชมชอบและเชื่อถือน� ำมาประพฤติปฏิบัติตาม จึงเป็น ผลกรรม ทางวัฒนธรรมคติธรรมหรือวัฒนธรรม ทางจิตใจ ที่มนุษย์แสวงหา ค้นพบ หรือริเริ่มสร้างสรรค์และปรุงแต่งขึ้น ให้ใช้เป็นมาตรฐาน แบบอย่าง ความคิด ความเห็น ความเชื่อ ความนิยมชมชื่น ของคนในส่วนรวม ที่พากันยอมรับนิยมเชื่อถือ เป็นสิ่งทรง คุณค่าอยู่เหนือคุณประโยชน์ทางการใช้สอยเป็นวัตถุปัจจัยเครื่องยังชีพ และเสริมแต่งชีวิตให้เพิ่มคุณค่า กว่าที่ได้มาตามธรรมชาติ ถือว่า มีคุณค่ายิ่ง จ� ำเป็นและส� ำคัญยิ่ง แก่ความเจริญเริ่มต้นจากจิตใจของบุคคล เพื่อนร่วมชาติและร่วมโลก ตลอดจนลูกหลานผู้สืบทอดเป็นทายาท ทางวัฒนธรรม มีศาสนา จรรยาธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เป็นต้น ซึ่งควรค่าแก่การทะนุถนอม บ� ำรุงพิทักษ์รักษาไว้เป็นสมบัติ ของวงศ์ตระกูลและของชาติ ขอกล่าวย�้ ำอีกครั้งว่า คุณค่าของวัฒนธรรมวัตถุธรรมเกิดจากคุณค่าของ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=