สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
41 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ระดับไหน อย่างไร คนพวกนั้นพวกนี้ ครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนินชีวิตอย่างไร แบบไหน ระบบใด และ เพื่ออะไร ในความเป็นมนุษย์ โดยไม่จ� ำเป็นต้องถือเอาเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เท่านั้นเป็นเกณฑ์ก� ำหนดรู้ ๒.๒.๖ ลักษณะ เป็น สัมพัทธนิยม ที่ได้รับการผสมผสานสร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น ขยายตัว เติบใหญ่ แพร่ขยาย หมุนเวียนแปรเปลี่ยน ถ่ายทอด สืบเนื่องเรื่อยมาเป็นล� ำดับ ด้วยการลอกเลียนแบบกัน บ้างส� ำเนากันบ้าง ดูดซึมและแลกเปลี่ยนกันบ้าง ประสานสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่นทั้งใกล้ และไกล ทั้งอ่อนแอกว่าและแข็งแรงกว่า จึงไม่อาจมีวัฒนธรรมใดผูกขาดส� ำหรับชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและ ชนชาติใดชาติหนึ่ง ไม่มีวัฒนธรรมใดเกิดมีมาด้วยเครื่องปรุงแต่งเฉพาะตัวเท่านั้น เติบใหญ่ขึ้นและด� ำรงอยู่ ได้โดดเดี่ยวโดยไม่สัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมอื่นทั้งในยุคก่อนและยุคปัจจุบัน อย่าง ที่มีผู้ตกหลุมแห่ง ฉันทาคติ และ โมหาคติ มักกล่าวเชิดชูตนเองด้วยความภาคภูมิใจเป็นนักเป็นหนาท� ำนองว่า ‘นี่แหละคือวิถีชีวิตไทยแท้ๆ คิดแบบไทย กินแบบไทย อยู่แบบไทย ประชาธิปไตยแบบไทย ใช้ภาษาไทย เท่านั้น เพราะไทยเป็นไทไม่เคยเป็นทาส ไม่เคยเป็นอาณานิคม ไม่เคยอาศัยใครขึ้นอยู่กับใคร เช่นนี้จึงจักได้ชื่อว่า รักชาติไทย จงให้ความสุขและคืนความสุขแก่คนไทย (ผู้นิยมความมักได้ มักง่าย มักสะดวก มักสนุก และมักสบาย) ...’ นับว่าเป็นข้อกล่าวอ้างที่คลาดเคลื่อนเหตุผลทาง ตรรกศาสตร์ คุณวิทยาและจริยศาสตร์ เพราะในความแท้จริงทางปรัชญาวัฒนธรรมนั้น วัฒนธรรมไทย ความเป็น คนไทย และวิถีชีวิตแบบไทยล้วน ๆ ไทยบริสุทธิ์แท้ ๆ ไร้เครื่องปรุงแต่งผสมผสาน สัมพันธ์แลกเปลี่ยน กับวัฒนธรรม-คุณค่า ค่านิยมอื่น ย่อมไม่มี ๓. วัฒนธรรมกับคุณค่าและค่านิยม เกิดมามีชีวิตเป็นแบบมนุษย์จนเติบใหญ่ได้ ‘วุฒิภาวะพอรู้ความคน’ เป็นล� ำดับ ย่อมต้องมี การเลือกก่อนการตัดสินใจหรือตกลงใจประกอบกรรมใด ๆ จนถึงประเมิน คุณค่า สิ่งต่าง ๆ เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นของตน ที่เกี่ยวข้องกับตนและกับคนอื่น ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรจริงอะไรเท็จ อะไรทุกข์อะไรสุข อะไรดีอะไรเลว ดีกว่าเลวกว่า อะไรให้คุณอะไรให้โทษ อะไรเจริญอะไรเสื่อม อะไรประเสริฐอะไรต�่ ำ ทราม อะไรน่ารักอะไรน่าชัง เป็นต้น น� ำมาก� ำหนดจัดระดับและมาตรฐาน คุณค่าและค่านิยม ในสิ่งนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ ว่าเราเห็นคุณค่าควรชื่นชมสรรเสริญหรือต� ำหนิติเตียน สูงส่งหรือต�่ ำต้อย ถูกหรือผิด ให้คุณ หรือให้โทษ เป็นประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ สมเหตุสมผลหรือไร้เหตุไร้ผล แค่ไหนเพียงไร จึงแสดงข้อคิด ความเห็นหรืออาการความรู้สึกออกมาได้ว่า น่ารักน่าชื่นชม หรือ น่าเกลียดน่าชัง ควรค่าแก่การเอาชีวิต ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือคบหาพาเข้ามาสู่ชีวิตตน คนแบบนั้น ชุมชนอย่างนั้น น่าคบหาสมาคม หรือพึง หลีกเลี่ยงละเว้น เป็นบัณฑิตหรืออันธพาล เป็นกัลยาณมิตรหรือปาปมิตร เป็นต้น มนุษย์แต่ละชีวิตย่อม ต้องมีความรู้สึกนึกคิดไม่มากก็น้อยใน คุณค่าและค่านิยม อีกทั้งย่อมไม่มีสังคมใดยุคใดสมัยใดเกิดขึ้นและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=