สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปรั ชญาวั ฒนธรรม 40 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 แลกเปลี่ยนผสมผสานกับบางส่วนบางระดับของวัฒนธรรมอื่นทั้งใกล้และไกล จึงไม่มีวัฒนธรรมใด บริสุทธิ์มีอยู่เป็นอยู่เสมอมาและตลอดไป ๒.๒.๔ ลักษณะ ไม่หยุดนิ่ง ไม่คงตัว เริ่มแรกอย่างไร ต่อมาและอีกต่อไปก็อย่างนั้น แต่อยู่ในกระบวนการไหลเลื่อนเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นไปในลักษณะ เจริญขึ้น หรือเสื่อมลง ต่อเนื่องหรือขาดตอน กระทั่งล่มสลาย หรือถูกกลืนโดยวัฒนธรรมอื่นที่แข็งแรงกว่าของบุคคล หรือสังคมที่ทรงพลานุภาพเข้มแข็งกว่า ทางความคิด สติปัญญา และอื่น ๆ เพราะ วัฒนธรรม ก็เหมือน สังขาร มีชีวิตและไม่มีชีวิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ด� ำรงอยู่ และแปรเปลี่ยนไป และอาจเกิดขึ้นมาใหม่วนเวียน อยู่ในลักษณะวัฏจักรนี้ไม่สิ้นสุด ตามส� ำนวนปรัชญาวัฒนธรรมว่า ‘วัฒนธรรมเสื่อมสลายย่อมหมายถึง การสิ้นชาติ’ เป็นการสูญสิ้นวิถีชีวิตของชนชาติและเชื้อชาตินั้น ๆ ที่อ่อนแอกว่าทาง ความคิด สติปัญญา ความเชื่อ และเหตุผล อันเป็นแก่นวัฒนธรรมคติธรรม น� ำสู่ความอ่อนแอด้านต่าง ๆ มีสังคมเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา เป็นต้น ‘คนไร้รากสังคมไร้ฐาน ล้วนชีวิตง่อนแง่น ปราศจากความมั่นคงฉันใด สังคมประเทศชาติไร้วัฒนธรรม คือ ภูมิปัญญาของตนเอง พึ่งพาตนเองเป็นตัวของตัวเอง ก็ย่อมตก เป็นทาสวัฒนธรรมของประเทศอื่นชาติอื่นฉันนั้น’ ๗ ๒.๒.๕ ลักษณะ เป็นระบบคุณค่า ค่านิยม เสรีนิยม เจตจ� ำนงอิสรนิยม ศักดิ์ศรี และ สมัครใจ เป็นรากเหง้าและแก่นแกนของวัฒนธรรม ตามนัย คุณวิทยา ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ และ สุนทรียศาสตร์ ที่ผู้ใดอาศัย อ� ำนาจนิยมหรือพระเดชนิยมใด ๆ มาบีบบังคับ ขู่เข็ญ ข่มเหง และขืนใจ ให้ใคร ๆ มาเลื่อมใส เห็นดีเห็นงาม เชิดชู นิยมชมชื่น และยอมรับเชื่อถือด้วยน�้ ำใสใจจริง มาเป็นวิถีชีวิต หรือน� ำเข้ามามีส่วนปรุงแต่งชีวิตโดยปราศจากนิยม อิสรภาพ เสรีภาพ และความสมัครใจ ย่อมเป็นไปได้ ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะวัฒนธรรมมีองค์คุณค่าเป็นรากเหง้าและแก่นแกนที่ต้องผ่านกระบวนการ และขั้นตอนวัฒนธรรมการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ ได้รับการปลูกฝัง อบรมบ่มเพาะ หล่อหลอม ให้ค่อย ๆ ซึมซับเอาอย่างเสพคุ้น สะสมให้เจริญงอกงามทีละเล็กละน้อย ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ประสบการณ์เคยชินต่อเนื่องกันมาไม่ขาดตอน ‘แต่อ้อนแต่ออกจนเติบใหญ่เป็นผู้เป็นคน’ ด� ำเนินไปตลอดชีวิต จนฝังลึกอยู่ในจิตส� ำนึก ความรู้สึกนึกคิด จิตใจสันดานและความเชื่อที่ถือ ๆ กันอยู่ กลายเป็นอุปนิสัยใจคอ นิสัย คุณสมบัติ บุคลิกลักษณะ อ่อนนอก แข็งในหรือแข็งนอกอ่อนใน กิริยามารยาท อัตลักษณ์ ของบุคคล วงศ์ตระกูล ชุมชน และมวลประชาชาติ ในสังคมประเทศนั้น ๆ จนสามารถชี้บอกและระบุได้ว่า ใครเป็นใคร เป็นคนแบบไหน หมู่ชนอะไร ๗ เสน่ห์ จามริก. ฐานความคิดสู่ทางเลือกใหม่ของสังคมไทย-วิถีทัศน์, กรุงเทพฯ ๒๕๔๑ ค� ำน� ำ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=