สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
39 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปลูกฝังอบรม หล่อหลอม เรียนรู้ สมัครใจ ถ่ายทอด ผูกขาดไม่ได้ บังคับขืนใจข่มเหงไม่ได้ เพราะทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นเรื่องคุณค่าและค่านิยมอันใคร ๆ มีสิทธิ ศักดิ์ศรี อิสรเสรี ยอมรับนับถือหรือไม่ยอมรับนับถือได้ ดังนั้น วัฒนธรรมจึงมีลักษณะหลากหลายสรุปได้ ดังนี้ ๒.๒.๑ ลักษณะ เป็นสิ่งทรงคุณค่าที่มนุษย์แสวงหา ประดิษฐ์ คิดขึ้น สร้างสรรค์ และ ปรุงแต่งขึ้น ด้วยสติปัญญาของมนุษย์ เพื่อสนองความจ� ำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ทั้งทางกายภาพ และจิตภาพ ช่วยให้มนุษย์เป็นอิสระจากสิ่งจ� ำกัดที่ได้มาตามธรรมชาติ มนุษย์อาศัยปัญญาธรรมอันเป็น วัฒนธรรมคติธรรม สร้างสรรค์ วัฒนธรรมวัตถุธรรม ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิต ด้านต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ หลากหลาย เริ่มด้วยปัจจัยยังชีพพื้นฐาน ตลอดเครื่องอ� ำนวยความสะดวกสบายสนุกบรรเทิง ขยายและ ยกระดับการพัฒนาวิถีชีวิต ขีดความสามารถและศักยภาพ ให้เข้าถึงการจัดการและการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติและพลังมนุษย์ให้ได้มากที่สุดและนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วัฒนธรรม จึงมิใช่ สิ่งเกิดมีเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ แต่โดยปัญญา-ปรัชญาในฐานะ วิชาเป็นมนุษย์ แนวคุณวิทยา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ เป็นหลัก ๒.๒.๒ ลักษณะ เป็นสิ่งทรงคุณค่าทางความรู้สึกนึกคิดจิตใจ ความเชื่อ และเหตุผล ในด้านตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์-คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี กฎหมาย ระเบียบแบบแผน แบบอย่าง ในวิถีชีวิต รวมถึงคุณค่า ด้านสุนทรียศาสตร์ ทุกประเภททุกระดับ อันเป็นเครื่องเสริมแต่ง ชีวิตให้งาม เพิ่มเติมจากที่ได้ตามธรรมชาติ ให้มนุษย์งามทางอาภรณ์ ทางมารยาท ทางความรู้ และทางจิตใจ แสดงออก ทางศิลปะ ต่าง ๆ ซึ่งแม้ไม่เน้นคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยให้ความ สุขสะดวกสบายทางกาย แต่ให้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกและจิตใจด้วยความบันเทิง สนุก เพลิดเพลิน รื่นเริง มีชีวิตชีวา พึงใจในชีวิต เป็นต้น ๒.๒.๓ ลักษณะ เป็นเรื่องของมนุษย์ในวิถีชีวิตมนุษย์เท่านั้น ทั้งที่เป็นส่วนบุคคลและ ส่วนรวม ร่วมกับคนอื่น ๆ แต่เกิดจนตาย แยกตัวอยู่โดดเดี่ยวตามล� ำพังเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่เกี่ยวข้อง กับมนุษย์ด้วยกันเลย ย่อมมีชีวิตอยู่เป็นแบบมนุษย์ไม่ได้ คุณค่า ความหมาย เกียรติ ศักดิ์ศรี ความนิยม ชมชื่น เป็นต้น ของชีวิตมนุษย์ อยู่ที่สถานภาพและภาระหน้าที่สัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ดังนั้น วัฒนธรรม จึงเป็นรากฐาน สัญลักษณ์ หลักการ แบบอย่าง ระบบ และแนวทาง ความเป็นความมี และความสัมพันธ์ ของมนุษย์กับมนุษย์ ที่อยู่รวมร่วมกันเป็นครอบครัว วงศ์ตระกูล สังคม ประเทศชาติ และโลกมนุษย์กับ สรรพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งที่เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ทรงมหิทธานุภาพเหนือมนุษย์และธรรมชาติ อีกทั้งมนุษย์มิได้เพียงต้องการมีชีวิต อยู่รอด แต่อยาก อยู่ดี อยู่อย่าง อารยชน อย่าง ผู้เจริญ อย่างมีความหมาย ความส� ำคัญ และความดีงาม ท่ามกลางหมู่มนุษย์ด้วยกัน เราได้ความ อยู่รอดและอยู่ดี เพราะหลายอย่าง หลายทาง ต้องสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยคนอื่นสิ่งอื่นและวัฒนธรรมอื่น วัฒนธรรมมีลักษณะปฏิสัมพันธ์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=