สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปรั ชญาวั ฒนธรรม 38 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ศีลธรรม มนุษยธรรม บทบาทหน้าที่ ศาสนา กฎหมาย กติกา ความถูกความผิด ความดีความงาม ความเป็นธรรม ความยุติธรรม เป็นต้น อาศัยแต่สัญชาตญาณอยากท� ำอะไรก็ท� ำไป เพราะไม่ต้อง ‘พัฒนา’ สติปัญญาและคุณธรรมส� ำหรับ พัฒนา ชีวิต ไม่มีสิทธิหน้าที่และไม่ถือคุณค่า-ค่านิยมใด ๆ ในความเป็นมนุษย์ ที่จะกระทบกระเทือนเป็นผลดีผลร้ายต่อผู้อื่น ยิ่งกว่านี้ ถ้าไม่มี วัฒนธรรม -วัตถุธรรมและคติธรรมไว้ให้เป็น วิถีชีวิตของมนุษย์ และส� ำหรับ เป็นคุณค่าคุ้มครอง ป้องกัน บ� ำรุงรักษา และ พัฒนา วิถีชีวิตสังคม โดยเฉพาะไม่มี วัฒนธรรมคติธรรม บนรากฐาน ปรัชญาส� ำหรับวิชาเป็นมนุษย์-ทั้งวิชาชีวิตและวิชาชีพ ไม่มีภาษาใช้สื่อสารท� ำความเข้าใจกัน และเป็นสื่อการเรียนรู้ ไม่มีศาสนาที่มาแห่งคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และจรรยาธรรม ส� ำหรับ การ พัฒนา จิตใจ และพฤติกรรมหรือการประกอบกรรมทางวาจาและทางกาย ไม่มีกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน กติกา ยุติธรรม ส� ำหรับให้คุณให้โทษ จัดระเบียบการอยู่รวมและร่วมกันให้เรียบร้อยสงบสุข สง่างาม อีกทั้งไม่มีอะไรอื่นที่ทรงคุณค่าเหนือ วัฒนธรรม ในฐานะเป็น วิถีชีวิต บุคคลและสังคมนั้น ๆ ย่อมเกิดขึ้นมีขึ้นไม่ได้ และแม้เมื่อบังเอิญเกิดมาแล้วย่อมคงชีวิตอยู่ไม่ได้ จะต้องตกอยู่ใน มิคสัญญีภาพ เหตุเพราะมีชีวิตไปตามสัญชาตญาณธรรมชาติแท้ ๆ โดยปราศจากวัฒนธรรม ดังนั้น ส� ำหรับมนุษย์ ที่ใดเมื่อไรมีบุคคลและสังคม ที่นั่นเมื่อนั้นต้องมีวัฒนธรรมในฐานะเป็น วิถีชีวิต และที่ใดเมื่อไรมีวัฒนธรรม ที่นั่นเมื่อนั้นต้องมีบุคคลและสังคม สังคมกับวัฒนธรรมย่อมเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน ทั้งวัฒนธรรมและสังคมย่อมไหลเลื่อนเคลื่อนไหวและแปรเปลี่ยนไปตามธรรมชาติและทิศทาง โลกทัศน์กับชีวทัศน์แห่ง ปรัชญาวัฒนธรรม แนวหนึ่ง ๆ ที่บุคคลและสังคมหนึ่ง ๆ ก� ำหนดและยึดถือเป็น วิถีชีวิต ยิ่งกว่านี้ วัฒนธรรมเป็นพลังก� ำหนดและปรุงแต่งระบบความเชื่อ ระบบคุณค่า ค่านิยม คตินิยม อุดมคติ อุดมการณ์ ก� ำกับชี้น� ำและประเมิน ความเป็นจริง ความเป็นเท็จ ถูกผิด ดีชั่ว ยุติธรรม อยุติธรรม น่ารักน่าเกลียดน่าชัง ทรงคุณค่าไร้คุณค่า ต�่ ำต้อยสูงส่ง อารยะ อนารยะ พัฒนา ก� ำลังพัฒนา ด้อยพัฒนา ประเสริฐ ต�่ ำทราม สุขทุกข์ เมือง ชนบท คนดี ผู้ดี เป็นผู้ดีแต่ไม่ใช่คนดี บ้านนอกในกรุง เจ้าขุนมูล นายข้าทาสบริวารบ่าวไพร่ ราชบัณฑิตไม่เป็นราชบัณฑิต และอื่น ๆ มากหลาย วัฒนธรรมจึงเป็น มนุษยบัญญัติ (ก� ำหนด) ไม่ใช่ธรรมชาติบัญญัติ (ไม่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ) แม้อย่างหลังคือบ่อเกิด แหล่งที่มาของอย่างแรก ๒.๒ ลักษณะ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วัฒนธรรมคือสภาพความเจริญงอกงามในความเป็นมนุษย์และ เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์แบบตะวันตกและแบบตะวันออก ทั้งหมดย่อมเป็นไปตามพลังความรู้สึกนึกคิดจิตใจ สติปัญญา และความเชื่อของมนุษย์ภายใต้กฎวิวัฒนาการในแนววัฏจักร มีการเกิด เปลี่ยนแปลง และ ดับสลาย แล้วเกิดขึ้นใหม่อีก มีการสร้างสรรค์ เสริมแต่ง ดัดแปลง ปรับปรุง ปรุงแต่ง สะสม อนุรักษ์ ท� ำลาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=