สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
37 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เจริญยิ่งขึ้นเป็นล� ำดับ ส� ำแดงออกเป็นพลังสร้างสรรค์ปรุงแต่งดัดแปลงสิ่งธรรมชาติ เพื่อคุณประโยชน์ ในการพัฒนาวิถีชีวิตของบุคคลและสังคม ตลอดจนกิริยาอาการทางวาจาและกายที่ส� ำแดงออกเป็น ความประพฤติ และบุคลิกลักษณะประจ� ำตัว วงศ์ตระกูล สังคม และชาติบ้านเมือง ความรู้สึกและกิริยา อาการที่ส� ำแดงออก ใช่จะมีอยู่แต่ในวิถีชีวิตมนุษย์เท่านั้นไม่ แม้สัตว์อื่นก็มีบางอย่างบางระดับคล้ายคลึง กันกับของมนุษย์ เพียงแต่ของสัตว์อื่นเกิดมีขึ้นและเป็นไปเองโดย สัญชาตญาณ และความเคยชินล้วน ๆ ของสัตว์ประเภทและชนิดนั้น ๆ แผกเพี้ยนแตกต่างกันออกไปในความจ� ำกัดตามธรรมชาติ กิริยาอาการ ที่สัตว์นั้นส� ำแดงให้ปรากฏออกมา มีอยู่อย่างใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น สืบทอดทางสายพันธุ์แต่เกิดจนตาย แต่อดีตจนปัจจุบันและสู่อนาคต ลักษณะคงอยู่อย่างนั้น ตามต้นแบบเผ่าพันธุ์ของมัน ไม่ได้รับการปรุง แต่งดัดแปลงให้พิศดารขึ้นสลับซับซ้อนขึ้นโดยตัวมันเอง จึงถือเป็น ความเจริญรุ่งเรือง -วัฒนธรรมไม่ได้ แต่สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ต้องอาศัย สติปัญญา ผ่าน วัฒนธรรมการศึกษาเรียนรู้ ในการเพิ่มเติม ดัดแปลง และปรับปรุงวิถีชีวิตให้พิศดารขึ้น ดียิ่งขึ้น ประเสริฐขึ้น ดังนั้น สิ่งใด ๆ เรื่องใด ๆ ทั้ง วัตถุธรรม และ คติธรรม ที่ถือได้ว่าเป็น วัฒนธรรม จึงไม่ใช่เกิดมาเองมีอยู่เองเรียบร้อยแล้วตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งและเป็นเรื่อง ที่มนุษย์อาศัย สติปัญญา-วัฒนธรรมคติธรรม สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้นใหม่ เสริมเติม ดัดแปลง ประดิด ประดอย สิ่งที่เป็นอยู่มีอยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติที่ไม่เกินกฎธรรมชาติ ๒.๑.๓ วัฒนธรรม หมายถึง วิถีชีวิตมนุษย์ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม อันเป็นมรดกสืบทอด ทางสายเลือดแห่งวงศ์ตระกูล เชื้อสาย สังคม ที่มนุษย์เป็นทายาทรับช่วงผองถ่ายไม่ขาดสายไม่ให้เกิด ‘วัฒนธรรมขาดตอน’ มนุษย์ทุกคนแต่ละคนรับ วิถีชีวิต -ต้นแบบ รูปแบบ แบบอย่าง และ แบบฉบับเดิม ๆ และเพิ่มเติมเสริมแต่ง ด้วยการสร้างสรรค์วิถีชีวิตแนวใหม่เข้ามาเสริมวัฒนธรรมเดิม ‘โดยไม่ทอดทิ้งของ เก่าไม่เอาแต่ของใหม่ เสียทั้งหมด’ ทั้งนี้เพื่อหลอมรวมให้เป็น วิถี ในการครองชีวิต ด� ำรงและด� ำเนินชีวิต สู่ความเจริญรุ่งเรือง ด้านต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ตามที่ได้รับการสั่งสอนอบรมบ่มเพาะมาแต่อ้อนแต่ออก วัฒนธรรมในความหมาย วิถีชีวิต นี้ จึงเป็นต้นแบบ แบบแผน แบบอย่าง แบบฉบับ จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ผ่านกระบวนการวัฒนธรรมการศึกษาเรียนรู้ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมทางปัญญาที่ได้รับ การสืบทอดเพื่อการมีชีวิตอยู่อย่างมนุษย์ อนึ่ง วัฒนธรรมที่ดัดแปลงปรุงแต่งสิ่งธรรมชาติสนองคุณประโยชน์ในวิถีชีวิต ไม่ใช่เฉพาะชีวิต บุคคลคนหนึ่งคนใด แต่เพื่อคนอื่นด้วย เพราะมนุษย์เกิดคนเดียว อยู่คนเดียว และแม้กระทั่งตายไปคนเดียว โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นสิ่งอื่นเลย ย่อมผิดความจริงทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมจะได้ชื่อว่า ‘วิถีชีวิต’ ก็ต้องเกิดขึ้นในสังคมและด้วยสังคมมนุษย์ หากไม่มีสังคมมนุษย์ วัฒนธรรม ย่อมเกิดมีขึ้นไม่ได้ สมมติว่า มีนายสิทธิ์เกิดเองและอยู่เพียงคนเดียว นายสิทธิ์ก็ไม่อาจครองชีวิตอยู่ แบบมนุษย์ได้ ไม่ต้องมีภาษามนุษย์ เพราะไม่มีใครพูดจาปราศรัยด้วย ไม่ต้องมีจรรยามารยาท จริยธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=