สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปรั ชญาวั ฒนธรรม 36 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ซึ่งความเจริญรุ่งเรือง รวม ๒ ค� ำเข้าด้วยกันเป็น วัฒนธรรม หมายความถึง คุณธรรม จริยธรรม หลักการ และแนวทางอันประเสริฐทรงคุณค่า ให้เกิด น� ำพา และธ� ำรงไว้ ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและ ก้าวหน้าในการครองชีวิต ด� ำรง และด� ำเนินชีวิต เสริมสร้างและปรุงแต่งชีวิตมนุษย์ให้เป็นไปตามแบบแผน แบบอย่าง ระบบ และวิถีทางที่ถูกต้องดีงามสู่สิ่งมุ่งหวังด้านต่าง ๆ คุณค่าระดับต่าง ๆ ที่อยู่เหนือสิ่งที่ ธรรมชาติมีอยู่ และก� ำหนดให้อย่างไรก็อย่างนั้น ภายใต้กฎธรรมชาติเดียวกับสรรพสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ กล่าวคือ วัฒนธรรมเป็น มนุษยบัญญัติ ให้วิถีชีวิตมนุษย์ประสบความส� ำเร็จเจริญรุ่งเรืองและความประเสริฐ อยู่เหนือ สภาพชีวิตที่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ดังส� ำนวนคิดและพูดของคนไทยที่ท� ำอะไร ๆ ให้ดีขึ้นไปกว่า เดิมไม่ได้ว่า ‘ปล่อยตามยถากรรม’ ซึ่งไม่ตรงกับความหมายในหลักค� ำสอนเรื่อง ‘กรรม ตามกฎแห่งกรรม’ ของพุทธปรัชญาวัฒนธรรม ความเจริญรุ่งเรืองในเรื่องนี้ ตรงกับ ‘พัฒนาการ’ ในส� ำนวนคิดและพูดของ คนปัจจุบัน เป็นความเจริญรุ่งเรืองของชีวิตมนุษย์ ๒ มิติประกอบกัน ก� ำหนดและสร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้นมา โดยมนุษย์ด้วยพลังสติปัญญาอันเป็น วัฒนธรรมคติธรรม ของมนุษย์ มนุษย์นี้นี่เองพยายามศึกษา แสวงหา ค้นคว้า ปรับแต่ง ประดิษฐ์ ดัดแปลง แปรเปลี่ยน ทรัพยากรธรรมชาติ สนองความจ� ำเป็นและความต้องการ ที่ถูกที่ควรโดยเหตุโดยผลของตน ความหมายใน มิติแรก เป็นความเจริญรุ่งเรือง ด้านนามธรรม หรือทางจิตภาพ เรียกว่า วัฒนธรรม คติธรรม เป็นอ� ำนาจหรือพลานุภาพน� ำพาให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองหรือความเจริญก้าวหน้า มิติที่ ๒ คือ ด้านวัตถุธรรม หรือทางกายภาพที่อาศัยวัฒนธรรมคติธรรมเกิดขึ้น อาทิ ปัจจัย เครื่องยังชีพ มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยาป้องกันและรักษาโรค สุขภาพกาย เรียกความเจริญ รุ่งเรืองด้านนี้ว่า วัฒนธรรมวัตถุธรรม ความเจริญทั้ง ๒ มิติในวิถีชีวิตมนุษย์เป็นเหตุเป็นผลของกันและ กันแนววัฏจักรดังกล่าวมาแล้ว ในท� ำนองเดียวกัน ปรัชญาวัฒนธรรมกรีก ได้แนะน� ำให้ถือเป็น คตินิยม ใน การพัฒนาชีวิตมนุษย์เอาไว้ว่า ‘จิตใจที่เข้มแข็งในร่างกายที่แข็งแรง’ (Sound Mind in Sound Body) ท� ำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้บูรณาการทั้งสุขภาพกายกับสุขภาพจิต ๖ ในลักษณะเดียวกัน พุทธ- ปรัชญาวัฒนธรรมสอนให้พัฒนาชีวิตมนุษย์ได้ ‘บูรณาการคุณภาพชีวิตแห่งสุขภาพกายกับสุขภาพจิต’ (กายิกสุขญฺจ เจตสิกสุขญฺจ) จนบรรลุความมุ่งหวังสูงสุดของชีวิตมนุษย์คือ ความสิ้นทุกข์ ๒.๑.๒ วัฒนธรรม หมายถึง ปัญญา-ปรัชญา เป็นรากเหง้าแก่นและองค์ประกอบ ส� ำคัญยิ่งของวัฒนธรรมคติธรรม ซึ่งรวมถึงความรู้สึกนึกคิดจิตใจ อัธยาศัย ความเห็น สติปัญญา เหตุผล และความเชื่อ ความรู้ของตนเองที่รับสืบทอดเป็น มรดกทางปัญญา ผสมผสานกับของคนอื่นที่ได้มาใหม่ หรือคิดขึ้นใหม่เพิ่มเติมและปรุงแต่งดัดแปลงเข้ากับความรู้เก่าที่สะสมเป็นพลังเดิมอยู่แล้วให้เป็นความ ๖ Cormford, F.M. (Trans) : The Republic of Plato , Oxford University Press 1941 chap.xiii
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=