สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

413 วรวุฒิ หิ รั ญรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เพื่อให้ผู้สวดไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งของนอกกายและร่างกายของตนให้ปล่อยวางทุกสิ่งไม่สนใจที่จะสะสม ทรัพย์สินในชีวิตปัจจุบัน แต่จะท� ำบุญสะสมบุญเพื่อเก็บไว้ใช้ในชาติหน้า เมื่อตายแล้วจะได้ไปสู่สวรรค์ ในขณะที่สถานปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ให้ความส� ำคัญกับการสวดมนต์ภาวนา การฝึกสมาธิให้จิตใจ สงบนิ่ง และการปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นกับทรัพย์สินนอกกาย ไม่หลงใหลยึดติดกับกิเลสตัณหา ซึ่งจะช่วย ท� ำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตส� ำนึกในเรื่องคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โลภ ไม่คิดทุจริตคดโกงคอร์รัปชัน ไม่เอาเปรียบสังคม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ปฏิบัติธรรมและแก่สังคมส่วนรวม แต่ก็ยังมีบางวัดบางส� ำนัก ปฏิบัติธรรมที่มีการชักจูงใจให้ผู้ปฏิบัติธรรมหลงเชื่ออย่างงมงายว่าการปฏิบัติธรรมโดยการสวดมนต์ภาวนา และการบริจาคเงินให้วัดหรือส� ำนักปฏิบัติธรรมอย่างมาก จะเป็นการสะสมบุญ ที่จะน� ำให้ผู้ปฏิบัติธรรม ไปสู่สวรรค์ได้ มีการสร้างสื่อวีดิทัศน์และภาพต่าง ๆ และอุปกรณ์โฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ เช่น สร้างค้อน ทองค� ำ ส� ำหรับใช้เคาะประตูสวรรค์ให้เปิดรับผู้ปฏิบัติธรรม สร้างจรวดทองค� ำและจานบินที่จะน� ำ ผู้ปฏิบัติธรรมไปสู่สวรรค์ได้ ซึ่งเป็นการหลอกลวงประชาชน ถึงขั้นท� ำให้ผู้ปฏิบัติธรรมบางคนที่เป็น ผู้บริหารสถาบันการเงินกระท� ำทุจริตยักยอกเงินฝากของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยน จ� ำนวนหลายหมื่นล้านบาทน� ำมาท� ำบุญ เพื่อหวังที่จะได้ขึ้นสวรรค์ในชาติหน้า สร้างความเดือดร้อนแก่ ประชาชนที่เป็นผู้ฝากเงินเป็นอย่างมาก และท� ำให้ประชาชนที่รู้ทันไม่ได้เชื่อถืออย่างงมงาย เสื่อมศรัทธา ในพระพุทธศาสนามากขึ้น การปฏิบัติเศรษฐธรรมที่ผู้เขียนน� ำเสนอ เป็นการน� ำเอาหลักเศรษฐศาสตร์และแนวความคิด ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และการเมือง สอดแทรกเข้าไปในบทสวดมนต์ และกิจกรรม ของการปฏิบัติธรรมโดยทั่วไป โดยการสอดแทรกบทสวดมนต์เรื่องเบญจศีล เบญจธรรม อริยสัจ ๔ และ มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ซึ่งเป็นค� ำสอนหลักของพระพุทธศาสนาที่ประชาชนควรยึดถือเป็น แนวทางในการด� ำรงชีวิตประจ� ำวันแทนที่จะสวดบูชาพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและ พระสังฆคุณเท่านั้น การปฏิบัติเศรษฐธรรม ยังได้น� ำแนวคิดเรื่องค่านิยมหลัก ๑๒ ประการของคนไทย ที่น� ำเสนอ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และบทความเรื่องคุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่ง ความหวังจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน แต่งโดยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย มาปรับปรุงดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเศรษฐธรรม ซึ่งปัจจุบัน เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวในวัยท� ำงาน จะได้มีจิตส� ำนึกในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และมีแนวคิดในการ พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม ศาสนา และการเมืองของประเทศ ท� ำให้เป็นคนมีเหตุมีผล ไม่โง่งมงาย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=