สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
35 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปวงปรัชญาเมธีจึงพากันพร�่ ำสอนศิษยานุศิษย์ว่า ชีวิตมนุษย์อยู่รอด อยู่ดี สงบสุข และสง่างามได้ ต้องอาศัย ความจริงดังที่เป็นตามธรรมชาติ เป็นพื้นฐาน เหตุเพราะมนุษย์เป็น สัตว์ธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ก็ต้องอาศัย ความจริงตามที่ควรจะเป็นตามวัฒนธรรม โดยต้องสามารถด� ำเนินชีวิต ประสานสัมพันธ์ ทางสังคมวัฒนธรรมให้อยู่กันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และดีงาม ตามสถานภาพและบทบาทหน้าที่ต่อกัน ที่ได้รับมาและที่ตนสร้างเสริม ด้วยคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยธรรม ในโลกมนุษย์ ปัญหา ที่เกิดขึ้นแม้เพราะ ภัยธรรมชาติ บ้างย่อมเป็นเรื่องธรรมดาตามความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แต่ที่ให้ ผลรุนแรงโหดร้ายยิ่ง เพราะภัยโดยมนุษย์ด้วยกัน ที่ละทิ้งคุณค่าแห่งเหตุผล ความจริง และความถูกต้อง ดีงาม ตามวัฒนธรรมคติธรรม มุ่งแต่สนองความต้องการอันไร้ขอบเขตและหาที่สุดมิได้ มากกว่าสนอง ความจ� ำเป็นของชีวิต อันความจ� ำเป็นยังพอก� ำหนดควบคุมได้ แต่ความต้องการ (desires-ตัณหา) ของ บุคคลก� ำหนดควบคุมได้ยาก ท� ำให้เพิ่มขยาย อัตตา -อหังการ มมังการ ที่เรียกทางปรัชญาการเมืองว่า “อัตตาธิปไตย” มากยิ่งขึ้นและยิ่งขึ้น วัฒนธรรมคติธรรมอันเป็นแก่นแกนและหลักวิถีชีวิตแนวปรัชญาวัฒนธรรมตะวันออก จึงสอน ให้มนุษย์เพียรพยายาม ก� ำหนดและควบคุมความต้องการให้อยู่ในกรอบและเหลือในระดับ พอดี พอ ประมาณ พอเหมาะพอควร ตามวิถีสายกลาง ครองชีวิตและด� ำเนินความเป็นมนุษย์ด้วยความเรียบง่าย สงบสุข และสง่างาม ไม่เบียดเบียนกัน และที่ส� ำคัญยิ่งคือ ไม่ฝืน คุณค่าแห่งความเป็นธรรมดาและ ท� ำร้ายท� ำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ ไม่น� ำสู่ความเสียสมดุลการมีชีวิตทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและ ระดับสังคม และส่งผลร้ายกระทบมวลมนุษยชาติ จึงจักเข้าถึงความจริงว่า มนุษย์เป็น สัตว์วัฒนธรรม คู่กันกับความเป็น สัตว์ธรรมชาติ มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ปรุงแต่ง ชีวิตธรรมชาติสู่ชีวิตวัฒนธรรม พึ่งพิงคุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นพลังก� ำหนดวิถีชีวิต และช่วยปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระจากการ ครอบง� ำของการมีชีวิตอีกระดับหนึ่งที่เต็มไปด้วยเงื่อนไข อยู่ในวงจ� ำกัด มีความทุกข์ เหนืออื่นใด มนุษย์ได้ชื่อว่า สัตว์วัฒนธรรม เพราะมีหลักการและแนวทางสู่ภาวะความเจริญรุ่งเรืองและก้าวหน้า ในวิถีชีวิตที่เรียกว่า พัฒนาการชีวิต ทั้งด้าน คติธรรม และ วัตถุธรรม ให้มนุษย์ได้ชื่ออีกอย่างว่า อารยชน ด้วยอารยธรรมคือวัฒนธรรม ตามองค์ความรู้และคุณธรรมที่ศึกษาได้จากศิลปวิทยา ๒. ความหมายและลักษณะของวัฒนธรรม ๒.๑ ความหมาย : ๒.๑.๑ วัฒนธรรม ๕ ได้จากค� ำบาลี วฑฺฒน หมายถึง สภาพความเจริญรุ่งเรืองและ ก้าวหน้า ผสมกับค� ำสันสกฤต ‘ธรฺม’ หมายถึง คุณธรรมอันทรง คุณค่า ในการปลูกฝัง ธ� ำรงไว้และคุ้มครองรักษา ๕ ศึกษาเพิ่มเติมใน เสฐียรโกเศศ. ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม , ส� ำนักพิมพ์บรรณาคาร นครหลวงฯ ๒๕๑๕ ตอนที่ ๓-๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=