สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การปฏิ บั ติ เศรษฐธรรมเพื่อส่งเสริ มการพั ฒนาเศรษฐกิ จ 406 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ข้าพเจ้าขอน้อมน� ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการด� ำเนินชีวิต เพราะ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการด� ำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ด� ำเนินไปในทางสาย กลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ดังนี้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ได้แก่ ๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป ซื่อตรง ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค� ำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระท� ำนั้น อย่างรอบคอบ ๓. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เช่น มีการอดออมเพื่อเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ๒ เงื่อนไข ได้แก่ การตัดสินใจและการด� ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัยทั้งความรู้และ คุณธรรมเป็นเงื่อนไขพื้นฐาน ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะน� ำความรู้ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและ ความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการด� ำเนินชีวิต การมุ่งต่อประโยชน์ ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา ค� ำอธิษฐาน : ปฏิทินของคุณภาพชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้เมื่อข้าพเจ้าสิ้นชีวิตในโลกนี้ไปแล้ว ดวงวิญญาณของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ถ้าหากข้าพเจ้าต้องกลับมาเกิดใหม่ในชาติหน้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=