สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปรั ชญาวั ฒนธรรม 34 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 แม้ให้คุณค่าความเป็นมนุษย์ทั้งกายและใจแยกกันไม่ได้ แต่ให้คุณค่าทางจิตใจเหนือทางร่างกาย ‘จะท� ำ อะไรก็ท� ำไปเถิดขออย่าข่มเหงท� ำร้ายท� ำลายจิตใจกันเลย’ ‘สามีภรรยาคู่นี้นอกใจกัน’ จิตใจ เป็นนามธรรม ตระหนักใน ความมี และ ความเป็น ของความเป็นมนุษย์ แสดงให้รู้ ๆ เห็น ๆ กันอยู่ แสดงพลังผ่านการประกอบกรรมทางวาจาและทางกาย สู่กิจกรรมและความเคลื่อนไหวด้านต่าง ๆ ของชีวิตทั้งส่วนบุคคลและสังคม แม้ความจ� ำเป็นและความต้องการทางกายภาพเป็นเพียงสัญชาตญาณ ในฐานะเป็นสัตว์ธรรมชาติ แต่บางครั้งในบางเรื่อง มนุษย์สละชีวิตทางกายเพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ ซึ่งสิ่ง ทรงคุณค่าเหนือกว่า อาทิ ความรู้ ความจริง ความถูกต้อง ความดี ความงาม คุณธรรม มนุษยธรรม ยุติธรรม ประชาธรรม อิสระเสรีธรรม และแม้กระทั่งเพื่อความหลุดพ้นจากความชั่วร้าย-อนารยะในลักษณะต่าง ๆ นานา โดยมนุษย์ด้วยกันเองและโดยสิ่งอื่น “พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต พึงสละให้ได้แม้กระทั่งชีวิตเพื่อรักษาธรรม-พุทธภาษิต” ยิ่งท้ายสุดแล้ว แม้วัตถุธรรมทรงพลังให้ชีวิต อยู่รอดสะดวกและสบายได้ แต่วัฒนธรรมคติธรรมย่อมทรงพลานุภาพ ก� ำหนดชี้น� ำประเมินและวินิจฉัย คุณค่าทางความรู้สึกนึกคิดจิตใจ ความเชื่อ คตินิยม ค่านิยม ลักษณะนิสัยใจคอ ระเบียบแบบแผนชีวิต ศิลปวิทยา สุนทรียภาพ ของแต่ละวิถีชีวิตและแต่ละสังคม รวมยอดอยู่ที่ คุณค่าความเป็นมนุษย์ จึงได้เกิด วัฒนธรรมทางศาสนาและจริยธรรม ศีลธรรม ธรรมเนียมประเพณี ขึ้นในหมู่มนุษย์ เพราะมนุษย์เป็น สัตว์ วัฒนธรรม ในมิติชีวิตเหนือมิติสัตว์ธรรมชาติล้วน ๆ มนุษย์ได้คิดค้นสร้างสรรค์และใช้ระบบคุณค่า ระบบ ความคิด ความเชื่อ เหตุผล และวิถีประพฤติปฏิบัติ ในชีวิตของบุคคลและมวลหมู่บุคคลหนึ่ง ๆ ให้มี รูปแบบและเนื้อหาลักษณะตรงกัน เหมือนกัน คล้ายกัน ใกล้เคียงกัน และแม้กระทั่งต่างจากคนอื่น สังคมอื่น ชนชาติเผ่าพันธุ์อื่น ที่มีความหลากหลาย การและการณ์เช่นนี้ย่อมไม่หยุดนิ่งตายตัวเป็นนิตย์นิรันดร์ บุคคล คือ ภาวะบัญญัติเรียกทางมนุษย์วัฒนธรรม ท� ำให้มนุษย์ ‘เป็นและมี’ อะไร อย่างไร และเพื่ออะไรในชีวิต ก� ำหนดและจัดแบ่งให้ บุคคล ในสังคมมีสถานภาพ บทบาทหน้าที่ ต� ำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นตัวเป็นตน เป็นเขาเป็นเรา เป็นพ่อแม่เป็นบุตรธิดา และอื่น ๆ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็น ‘นาม’ เรียกขานกันและเกี่ยวดองกันของ บุคคล หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรแห่ง โลกธรรม ของวิถีชีวิตมนุษย์ มีลาภเสื่อมลาภ ยศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ ความหมายและความส� ำคัญของ บุคคล ย่อมขึ้นอยู่ กับขีดขั้น คุณค่า ที่ผู้นั้นมีอยู่ในการครองชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสมและให้เกิดคุณประโยชน์อัน ชอบธรรม ตามสถานภาพของตน และปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบให้ตาม วัฒนธรรม ของชาติสังคมนั้น ๆ ดีมากน้อยเพียงไร ในข้อนี้ วัฒนธรรมคติธรรมแนวพุทธปรัชญากับแนวปรมาจารย์ขงจื๊อสอดคล้องกันใกล้เคียงกัน ที่ให้แต่ละ บุคคล ต้องครองสถานภาพชีวิตและมีบทบาทหน้าที่พื้นฐานความเป็นมนุษย์ตาม วิถีชีวิต-วัฒนธรรม ของตน ซึ่งสัมพันธ์กันอยู่แต่เกิดจนตายและแม้แต่หลังตายไปแล้ว พร้อมวางแนวทางและสิ่งมุ่งประสงค์ด้านต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ในการปฏิสัมพันธ์กัน ต้องตาม วัฒนธรรมคติธรรม อันเป็นฐานและสายสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=