สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
401 วรวุฒิ หิ รั ญรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ การปฏิบัติเศรษฐธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ การปฏิบัติเศรษฐธรรม เป็นการปฏิบัติธรรมที่น� ำหลักเศรษฐศาสตร์และแนวความคิดในการ พัฒนาเศรษฐกิจมาผสมผสานเข้าไปในการสวดมนต์และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในส� ำนักปฏิบัติธรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีความรู้ความเข้าใจชัดเจนมากขึ้นในหลักค� ำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ที่ควรน� ำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจ� ำเป็น ซึ่งจะท� ำให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตส� ำนึกและเข้าใจอย่างแท้จริงในการ ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามค� ำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธาของประชาชนคนไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติเศรษฐธรรมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติธรรม เป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นในการท� ำงาน ไม่ท้อถอย ปฏิบัติตนไปในแนวทางที่จะส่งเสริมให้สังคม ไทยก้าวหน้าไปในทิศทางที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถด� ำรงชีวิตอยู่ในสังคมเศรษฐกิจไทยได้อย่างมี ความสุข และช่วยส่งเสริมให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทั้งในทางสังคมเศรษฐกิจ การเมือง ในระบอบ ประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปฏิบัติเศรษฐธรรมอาจจัดขึ้นในวัดหรือสถานปฏิบัติธรรมส� ำหรับประชาชนทั่วไป โดยเพิ่ม เนื้อหาความรู้ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าไป หรือจัดให้เฉพาะกลุ่มประชาชนหรือข้าราชการ นักวิชาการ และนักศึกษา ที่มีความสนใจในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น ก็ได้ การปฏิบัติเศรษฐธรรมจะยึดแนวทางการปฏิบัติธรรมทั่วไป แต่แทรกกิจกรรมความรู้ด้าน เศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าไป ประกอบด้วย ๑. การสวดมนต์ภาวนา ๒. การท� ำสมาธิ ๓. การเดินจงกรม ๔. การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันนอกเหนือจากการสวดมนต์ภาวนาภายในส� ำนักปฏิบัติธรรม ๕. การปฏิบัติกิจกรรมในชุมชนใกล้เคียงส� ำนักปฏิบัติธรรม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=