สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
399 วรวุฒิ หิ รั ญรั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ หรือมื้อเย็นของผู้ปฏิบัติธรรมที่ไม่สามารถทานอาหารมื้อเดียวได้ก็อาจจะไปหาทานได้จากโรงอาหารหรือ โรงทาน โดยการซื้อหรือทางวัดจัดหรือสถานปฏิบัติธรรมจัดหาส� ำรองไว้ให้ ส่วนวัดที่พระสงฆ์ฉันภัตตาหารวันละ ๒ มื้อ ก็จะมีการปฏิบัติธรรมสวดมนต์ภาวนา ท� ำสมาธิ และอุทิศส่วนกุศลร่วมกัน วันละ ๓ รอบ คือ รอบเช้า (วัตรเช้า) รอบก่อนเพล (ถวายภัตตาหารเพลแก่พระ สงฆ์) และรอบค�่ ำ (วัตรเย็น) ตั้งแต่ ๖ โมงเย็น ก่อนแยกย้ายกันไปท� ำสมาธิก่อนนอน การแต่งกายด้วยชุดขาว ห้ามน� ำโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารติดต่อกับบุคคลภายนอก วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมตัดขาดจากโลกภายนอก มีสมาธิในการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมชาย หญิงพักกันคนละอาคารที่พัก บทสวดมนต์ประกอบการปฏิบัติธรรม บทสวดมนต์ในการปฏิบัติธรรมของวัดและสถานปฏิบัติธรรม ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน ผู้เขียนขอน� ำบทสวดมนต์ของสวนโมกขพลารามซึ่งเป็นส� ำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งบท สวดมนต์เป็นภาษาบาลีและค� ำแปลเป็นภาษาไทยทั้ง ๑๑ บท ซึ่งเหมาะส� ำหรับผู้ต้องการปฏิบัติธรรมสวด มนต์ภาวนาน� ำไปปฏิบัติต่อ ดังนี้ ชื่อ เนื้อหา ๑. ค� ำบูชาพระรัตนตรัย บูชาพระรัตนตรัย (พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์) ๒. ปุพพภาคนมัสการ เริ่มต้นนมัสการ (นะโม) ๓. บทสรรเสริฐพุทธคุณ สรรเสริญพุทธคุณ (ความดีของพระพุทธเจ้า) ๔. บทสรรเสริญธรรมคุณ สรรเสริญธรรมคุณ (ความดีของพระธรรม) ๕. บทสรรเสริญสังฆคุณ สรรเสริญสังฆคุณ (ความดีของพระสงฆ์) ๖. บทสรรเสริญพระรัตนตรัย สรรเสริญพระรัตนตรัย ๗. สังเวคปริกิตตนปาฐะ สังเวคกถา กล่าวถึงธรรมที่แสดงเรื่องความทุกข์เกี่ยวกับ ขันธ์ ๕ เพื่อให้รู้และก� ำหนดความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดย ใช้ธรรมะจัดการกับความทุกข์โดยถูกวิธี ๘. ภัทเทกรัตตกถา ค� ำสอนเกี่ยวกับการไม่ค� ำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและสิ่งที่ ยังมาไม่ถึง โดยให้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้ รีบเร่งท� ำความดี เพราะไม่มีใครทราบได้ว่าเราจะตาย เมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นจึงต้องพยายามรีบท� ำความดี ในปัจจุบัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=