สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 390 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ทั้งหมดนี้เกินกว่าสื่อมวลชนแห่งยุคอดีตจะน� ำเสนอความจริงได้หมด ความจริงชุดต่าง ๆ แพร่ไปทั่วโลกด้วยสื่ออภิสารซึ่งจะน� ำไปสู่อะไรก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่จ� ำเป็นอย่างรีบด่วนก็คือการเผยแพร่การรู้ เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออภิสารที่ท� ำงานเหมือน “วงมโหรี” ต่างคนต่างตีตามทักษะของตัวแต่รวม ร้อยกันเป็นเพลง ต้องเข้าใจว่าการท� ำงานทั้งระบบของมันจะน� ำไปสู่ความจริงหลายชุด และต้องเข้าใจว่า พื้นที่ข่าวสารเช่นนั้นมีอารมณ์มากมายเข้าไปแพร่กระจาย พลังแห่งข่าวเกิดขึ้นจากการถักทอเนื้อเรื่องมีความสลับซับซ้อนสูงกว่าการเล่านิทานแบบตรง ๆ เหมือนนิทานอีสป การสร้างเรื่องย่อยในระหว่างการด� ำเนินเรื่องใหญ่ การสร้างเรื่องขนาน การสร้างเรื่อง แบบอ้อมค้อม ช่วยเสริมสร้างจินตนาการแบบเป็นจริงเป็นจังและดึงเรื่องที่อยู่ห่างไกลมาใกล้ตัวเพราะ ผู้อ่านสามารถเข้าไปช่วยเล่าเรื่องได้ด้วย การผนึกร่วมของสื่อต่างภูมิทัศน์ผลักกระแสข่าวดิจิทัลข้าม พรมแดน วินาศกรรมกรุงปารีสเป็นประเด็นข่าวส� ำคัญในกรุงเทพฯ ไม่แพ้ที่อื่นใดในโลก เราได้รับรู้ข่าวสาร และต้องรู้เท่าทันข่าวสารว่ามันคือผลของการท� ำงานแบบมโหรีของสื่อที่ตัวของเราเองก็อาจจะเข้าไป เป็นส่วนของวงมโหรีนั้นด้วย จึงต้องใช้สื่ออย่างมีสติ เนื่องจากประเทศไทยก็มีผู้นับถือศาสนาอื่นอยู่จ� ำนวน ไม่น้อย การรับรู้ข่าวสารร่วมกันของมนุษยชาติท� ำให้อารยธรรมของมนุษย์พัฒนาแบบบริโภคด่วน ทั้งเสพทั้งกดคีย์บอร์ดแบบมีส่วนร่วมแล้วข้ามสะพาน (ที่มองไม่เห็น) ลงมาสู่ปฏิบัติการในโลกจริง ทางกายภาพ สื่อสร้างกระจกบานใหญ่ที่ส่องให้เห็นประเทศที่รวยที่สุด งดงามที่สุด จนที่สุด พร้อม ๆ กับภาพผู้คนที่อัตคัดขาดแคลนที่สุด เราเห็นความสงบสันติ การสรรค์สร้าง การถือก� ำเนิด การช่วยเหลือกัน ของเพื่อนมนุษย์และความเสมอภาค พร้อม ๆ กับสงคราม จลาจล การท� ำลาย อาชญากรรม ความตาย ต่อหน้าต่อตา การเบียดเบียนและการแบ่งชั้นวรรณะ เรารู้สึกสั่นสะเทือนไปด้วยการคุกคามจากคนที่มี ความคิดความเชื่อแตกต่างจากเรา เป็นเรื่องที่น่ากลัวหากกระแสพลังด้านมืดได้แก่ความถือเขาถือเรา ความเกลียดชัง ความโกรธแค้นรุนแรงแทรกซึมเข้าสู่มโนส� ำนึกของทุกผู้คนแล้วน� ำไปสู่ปฏิบัติการ เช่นที่เกิดในกรุงปารีส โลกได้สร้างเทคโนโลยีใหม่ล�้ ำไปข้างหน้าแล้ว หลายปีที่ผ่านมาผู้คนได้น� ำสื่อใหม่ไปใช้อย่าง กว้างขวาง เมื่อเวลาผ่านไปเราก็ได้เห็นด้านลบของเทคโนโลยีในแง่ที่มันปลุกเร้าอารมณ์จากข้อมูลที่หละ หลวม ปลอมปน แต่งเติม ปลุกเร้าและไล่ล่า น� ำไปสู่ข้อสังเกตเป็นค� ำถามว่าเหตุใดบางประเทศที่เคยใช้สื่อ ออนไลน์เพื่อการต่อสู้ของประชาชนจึงลงเอยด้วยสงครามกลางเมืองและความพังพินาศของอารยธรรมที่ สั่งสมกันมานับพันปี และท� ำไมข่าวสารวินาศกรรมในกรุงปารีสแม้จะกระจายไปทั่วโลกแต่ก็ไม่สามารถยุติ ความขัดแย้งที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น บทความนี้เรียกร้องกระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ในการท� ำความเข้าใจกับกระบวนการ สื่อสารแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีลักษณะเสมือนน�้ ำที่หลากไหลข้ามพรมแดนประเทศท� ำความเข้าใจ กับเรื่องเล่าของชาวโลกที่เกิดและดับไปอย่างรวดเร็วไม่มีสิ่งใดที่ตั้งมั่นอยู่ได้นานท� ำความเข้าใจกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=