สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 378 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ส� ำหรับผู้เป็นสื่อ บัดนี้ผู้รับสารคือมนุษย์ที่ต้องการรู้เรื่องราวที่สด ใหม่ และน่าตื่นเต้น ตลาดแห่งความเห็นปัจจุบันมิใช่ตลาดแคบ ๆ แต่เป็นตลาดโลกที่เปิดช่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารไว้เสมอ ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความส� ำคัญกับการละเมิดสิทธิ์ การสงวนสิทธิ์ในข่าวสาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ง่ายใน ระหว่างการหมุนเวียนของสาร ดูเหมือนว่าไม่มีสารใดที่ “เป็นกลาง” เพราะขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ส่งและเลือกรับ ไม่มีสารใด ที่ “ถูกถ้วน” เพราะยากต่อการชี้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก มีหลายชั้น (layers) เหมือนขนมชั้น หมายถึงการที่ คนต่างชนชั้น ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างก็เสพสื่อและสารเดียวกันไปตามความชอบของตัว สังคมก� ำลังก้าว เข้าสู่การหลากไหลที่ไร้ความตายตัว เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และก้าวเข้าสู่ความเป็นพหุลักษณ์ทั้งทาง ความรู้ความสามารถ วัฒนธรรม ความคิด ความรู้ ความเชื่อ และความจริง ซึ่งท้าทายความหยุดนิ่งและเชื่องช้า และท� ำให้ธรรมเนียมวารสารศาสตร์ต้องเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาการเล่าข่าวแห่งศตวรรษที่ ๒๑ : วินาศกรรมกรุงปารีส เหตุการณ์วินาศกรรมกรุงปารีสเป็นตัวอย่างการเล่าข่าวข้ามพรมแดนแบบใหม่ที่เห็นได้อย่าง ชัดเจน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้ก่อการร้ายโจมตีบางจุดในปารีสและเมืองใกล้เคียงคือ แซงเดอนี ท� ำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายร้อยคน เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตะลึงให้แก่ชาวโลก ในการนี้ สถานีข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) รายงานข่าวอย่างเกาะติด ขนานไปกับสื่อชนิดอื่นทั้งสิ่งพิมพ์และ เครือข่ายออนไลน์ ๑. ซีเอ็นเอ็ม (CNN) ภาพที่ ๒ การรายงานข่าวของซีเอ็นเอ็น (CNN)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=