สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

377 สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ จากลักษณะข้างต้นท� ำให้ข่าวที่ใช้การผนึกร่วมของสื่อต่างภูมิทัศน์ถูกถักทอเป็นกระแสใหญ่ บ้างเล็กบ้าง โดยทุกคนสามารถมีส่วนอยู่ในเส้นใยนั้น โลกข่าวสารในอนาคตเหมือนเส้นใยแมงมุมที่ต่อ เชื่อมหรือพันกัน มนุษย์กลายเป็นส่วนต่อในสังคม ไม่ใช่เพียงรับรู้แต่อยู่แยกกันเหมือนในอดีต ๕. ผลกระทบต่อวิชาชีพสื่อ เมื่อเกิดเหตุวินาศกรรมกรุงปารีส สื่อมวลชนได้รายงานเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว น� ำผู้รับสาร เข้ามามีส่วนร่วมในเหตุการณ์จนส่งผลกระทบเข้ากับตัวเหตุการณ์นั้นชนิดข้ามพรมแดน ในขณะเดียวกัน สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นเน็ตเวิร์กก็สร้างความสนใจและดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาส่วนร่วมเป็นอันมาก อีกทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกเสมือนจริงและโลกจริง ผู้คนพากันพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ เหตุการณ์เกิดขึ้นในอีกด้านหนึ่งของโลกที่ห่างไกล ผลกระทบต่ออาชีพนักเล่าเรื่อง หรือนักเล่าข่าว (The Narrator,The Reporter) ความเปลี่ยนแปลงของระบบการสื่อสารส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพนี้ หรือ คนทั่วไปที่เข้ามามีส่วนในกระแสที่ก� ำลังเลื่อนไหลนี้ นักข่าวโทรทัศน์ นักข่าวหนังสือพิมพ์ ยังเป็นนักข่าว ออนไลน์ที่ต้องตระหนักเรื่องของการสร้างพลังแห่งความเลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสารโดยตระหนักว่าตน จะเล่าเรื่องผ่านสื่อชนิดใดบ้าง จะเล่าผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ หรือวิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อ วัตถุประสงค์แจ้งข่าวสาร หรือเพื่อโน้มน้าวใจ หรือเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตัวเอง เขาต้องตระหนักถึง ความเร็วของกระแสที่หลากไหลอย่างต่อเนื่อง และปรับตนเองไปตามล� ำดับที่ได้ข้อมูลใหม่ การข้ามสื่อท� ำให้เกิดการข้ามอาชีพ ในระบบการสื่อสารของไทย แต่ก่อนค� ำว่า journalism มีความหมายถึงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ มหาวิทยาลัยสอนให้นักศึกษาจบออกไปเป็นนักข่าว บรรณาธิการ ช่างภาพ นักแสดง แต่ปัจจุบัน เด็กเล็ก ๆ ก็ออกสื่อได้ เด็กวัยรุ่นไปรับการอบรมนิดหน่อย ก็สามารถสร้างคลิปออกยูทูป หรือเว็บไซต์ดัง ๆ ให้เพื่อน ๆ หรือพี่น้องดูได้ที่บ้าน มีการส่งต่อคลิปที่ถ่าย ทันควัน ณ ที่เกิดเหตุ พวกนี้เป็นเนื้อหา เป็นเรื่องเล่า หรือเป็น “ข่าว” ส� ำหรับผู้ใช้สื่อจ� ำนวนมาก นักเล่าข่าวต้องมีหลายทักษะ (The Multiskilled Journalist) ผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็น สื่อเดิมหมายถึงผู้สร้างสาร ด้วยการเก็บข้อมูลและน� ำเสนอแก่ประชาชน พวกเขารู้จักการสร้างเรื่อง ใช้ภาษา สังเกตเหตุการณ์ ถ่ายทอดความรู้สึกของผู้คนออกไปอย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน อาจหมายถึง นักเล่าเรื่อง (storytellers) ที่มีศิลปะในการท� ำงานข้ามชนิดของสื่อ จะต้องรู้วิธีสร้างสาร ในสื่อสิ่งพิมพ์ต้อง มีความสามารถในการเขียน รู้จักการใช้สี การก� ำหนดกรอบสาร ตัวอักษร สัญลักษณ์ ต้องสร้างวีดิทัศน์เป็น ต้องเป็นนักพูด ระมัดระวังในการแต่งกาย แสดงกิริยาท่าทาง และสามารถพูดต่อหน้ากล้อง สื่ออาชีพต้อง รู้จักการตั้งค� ำถามที่ไม่กดดันหรือหยาบคายต่อแหล่งข่าว มีจิตวิทยา ช่างสังเกต รู้กฎหมาย รู้จริยธรรม และหลักอื่น ๆ ของสื่อมวลชน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=