สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 376 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 โดยปรกติ นอกจากนั้น ลักษณะของข่าวแต่เดิมที่มักจะเป็นการบอกเหตุการณ์อย่างสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นและ จบลงอย่างรวดเร็ว ก็แปรสภาพเป็นการเล่าข่าวที่มีเนื้อหายาวขึ้นแบบวันต่อวันวันละหลายรอบ มีความ หลากหลายด้วยรายละเอียดที่มีผู้ส่งเข้าสู่เครือข่าย ข่าวดิจิทัล ๑๐ มีลักษณะพิเศษคือ ก. ข้ามสื่อ สามารถเดินทางไปมาข้ามภูมิทัศน์สื่อได้ คือสามารถปรับรูปลักษณ์และสัญญาณ ตามชนิดของสื่อที่มาบรรจบกัน คาลอส สคอลารี (Scolari: 2013) ๑๑ อธิบายการเล่าเรื่องแบบข้ามสื่อ (Transmedia Storytelling) ว่า คือการที่เนื้อหาเดียว ถูกปรับแปลงบ้าง แล้วน� ำไปผลิตข้ามสื่อ ในแต่ละผลผลิตอาจมุ่งหมาย ผู้รับสารแฝงเช่นสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องหนุมาน มีผู้ชมแน่นอนคือเด็ก ๆ แต่ผู้ใหญ่ก็ดูได้เพราะเกี่ยวกับ การท� ำศึกสงคราม และความจงรักภักดีต่อพระราชา และเรื่องนี้ยังถูกผลิตออกมาหลากหลายทั้งในรูป หนังสือ และเกม เหตุใดเรื่องหนุมานจึงสามารถมีผู้รับสารหลายระดับ ก็เพราะโครงเรื่องมีหลายชั้นที่ อาจดึงดูดคนหลายวัย ผู้รับสารตีความสารตามภูมิหลังของตน ข. ข้ามกาลเวลา สามารถข้ามกาลเวลาจากสื่อเก่ามาสู่สื่อใหม่ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า ค. ข้ามพรมแดน สามารถข้ามพรมแดนของประเทศไปสู่ระดับโลก ง. ข้ามเนื้อหา สามารถปรับแปลงเนื้อหาได้หลากหลายแต่บนแกนเรื่องหลักแบบเดิม หรือ อาจน� ำไปสู่การสร้างเรื่องใหม่ขยายตัวออกไปอีก การสร้างเรื่องที่ขยายการเล่าข่าวออกไปจากเดิม มี ๔ ชนิดคือ ชนิดที่ ๑. การสร้างเรื่องย่อยในระหว่างการด� ำเนินเรื่องใหญ่ (Creation of interstitial microstories ) เช่น ซอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนึ่งปีเป็นฤดูกาล ชนิดที่ ๒. สร้างเรื่องขนาน (Creation of parallel stories ) เป็นเรื่องซ้อนเรื่อง ซึ่งจะ คลี่คลายพร้อมกับเรื่องใหญ่ ชนิดที่ ๓. การสร้างเรื่องแบบอ้อมค้อม ซึ่งในท้ายที่สุดอาจจะหลุดจากเรื่องใหญ่ไปเลยก็ได้ (Creation of peripheral stories ) ชนิดที่ ๔. การสร้างเรื่องโดยอาศัยผู้อ่านเป็นตัวผลักดัน (Creation of user-generated content platforms like blogs, wikis, etc.) ๑๒ ๑๐ Transmedia and Crossmedia Convergence in a Connected World กล่าวว่าการเล่าเรื่องแบบผนึกสื่อต่างฐานคือสื่อแอนะล็อก และสื่อดิจิทัล ท� ำให้เกิดการเล่าเรื่อง หรือเล่าข่าวแบบใหม่ที่เรียกว่า narrative convergence ศัพท์บัญญัติในเบื้องต้นของคณะกรรมการ บัญญัติศัพท์ราชบัณฑิตยสถานคือ อภิสาร ๑๑ Scolari, 2013 ๑๒ Jenkins, 2006a, 2006b
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=