สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

375 สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ลักษณะการเกาะเกี่ยวกันระหว่างสื่อ ปรากฏจากผลส� ำรวจของเว็บไซต์ Vouchercode- spro.co.uk ๙ ระบุว่า ใน ค.ศ. ๒๐๑๒ ที่ผ่านมาพบว่า การใช้งานโซเชียลมีเดีย วิดีโอออนไลน์ รวมไปถึง หนังสือพิมพ์ออนไลน์และวิทยุโทรทัศน์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสื่อออนไลน์ พบว่าเป็นกิจกรรมที่ได้ รับความนิยมและเริ่มมีสัดส่วนการใช้งานเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ท� ำการส� ำรวจตั้งแต่ ค.ศ. ๒๐๑๐-๒๐๑๓ ในขณะที่สัดส่วนการสื่อประเภทอื่นในรูปแบบออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร กลับได้รับความนิยมลดลงสวนทางกับการใช้สื่อออนไลน์อย่างชัดเจน ๔. เรื่องเล่าดิจิทัล และข่าวดิจิทัล เรื่องเล่า ในภาษาอังกฤษว่า storytelling และ narrative ซึ่งมีความหมายคล้ายกัน แต่ค� ำว่า narrative มีความหมายกว้างกว่า โดยมีความหมายครอบไปถึงการใช้สื่อและผลกระทบที่เกิดขึ้น กับสังคมในภาพรวมใหญ่ในขณะที่ storytelling เน้นลงไปที่การเล่าเรื่องแต่ละเรื่อง เมื่อเกิดเทคโนโลยี ดิจิทัล จึงมีพัฒนาการจาก Storytelling แบบเล่านิทานก่อนนอน การเล่าข่าวผ่านสื่อเดิมสู่เรื่องเล่าดิจิทัล (digital storytelling) ซึ่งครอบคลุม นิทาน สารคดี บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เพลง การร่ายร� ำที่มี ลักษณะบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ หรือแม้กระทั่งการเล่าข่าวก็ถือว่าเป็นการเล่าเรื่องประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า บทความข่าว (News Article) ข่าว เป็นเนื้อหาที่แปลงตัวเองไปเรื่อย ๆ พร้อมกับความเร็วของการหลากไหล ความเร็ว ของสื่อ จะท� ำให้ข่าวหรือการเล่าเหตุการณ์ที่เป็นข่าวปรับตัวไปอย่างรวดเร็ว เพราะเรื่องเดียวนั้นจะเข้าหา ผู้คนจากสื่อหลายประเภท และตัวของผู้รับแต่ละคนก็สามารถเสริมเติมเรื่องเล่าเหล่านั้นได้ ดังนั้น ภายใน ไม่กี่วันเรื่อง ๆ หนึ่งอาจพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรวดเร็ว เช่น การสังหารผู้น� ำศาสนา ในประเทศหนึ่ง ท� ำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนั้นอย่างมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เกิดอารมณ์ จากการดูคลิป มีการดาวน์โหลด แชร์ภาพ จนอาจเกิดปฏิกิริยาจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องที่สร้างเรื่องต่อเนื่อง อย่างลูกโซ่ สื่อใหม่ ท� ำให้เกิดเครือข่ายการสื่อสารที่กว้างขวางไร้พรมแดน ผู้คนสามารถเข้าไปมีส่วน ร่วมในระบบสื่อสารนี้อย่างเข้มข้นโดยเข้าไปผลิตสื่อเองและสร้างเนื้อหาเอง ส่งผลกระทบต่อสังคมใน ทุกด้าน สิ่งที่เรียกว่า “ข่าว” จึงมีรายละเอียดแตกต่างไปจากเหตุการณ์ที่เข้ามาสู่กองบรรณาธิการจาก ทุกทิศ (North เหนือ East ตะวันออก West ตะวันตก South ใต้=NEWS ) เพราะมันเข้าไปสู่การรับรู้ ของผู้คนพร้อมกันไปด้วย หรือประชาชนอาจได้รับข่าวก่อนกองบรรณาธิการของสื่อมวลชนก็เป็นอยู่ ๙ “สถิติมันฟ้อง…ปี ๒๐๑๒ สื่อออนไลน์โตสวนทางสื่ออื่นๆ ที่หดตัวอย่างชัดเจน” (Infographic) by thumbsupteam | June 20, 2013

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=