สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 374 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ตามต้องการตลอดจนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ผู้รับข่าวสารยังใช้สื่อมวลชนอยู่เพียงแต่ลด สถานะความเป็นแหล่งข่าวอยู่ในระดับรอง เมื่อเปรียบกับการใช้สื่อในประเทศไทย จากการส� ำรวจโดยสถิติ Digital, Social, และ Mobile Media ของประเทศไทย ค.ศ. ๒๐๑๖ ๖ ในประเทศไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตร้อยละ ๕๖ โดยมีการใช้ แล็ปท็อปมากกว่าสมาร์ตโฟนเล็กน้อย โดยการใช้ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อต่อเข้ากับเครือข่ายสังคม (social network) โดยมีอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ ๒๑ ต่อปี ทั้งนี้ สื่อสนทนาอย่าง Line, Facebook Messenger เป็นแหล่งข่าวส� ำคัญระดับสูงในประเทศไทย ๓. การไหลของกระแสข่าวข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็วและเกาะเกี่ยวกัน การไหลของกระแสข่าวสารโลกนั้นยังอยู่ในระดับของการศึกษาวิจัย โดยเดอเบียร์ [De Beer (2010)] ๗ กล่าวว่า เนื้อหาข่าวในโลกที่แคบลงนี้มีสภาพที่หาขอบเขตได้ยากเพราะมันไหลข้าม พรมแดนประเทศและทวีป จึงเป็นการยากที่จัดประเภทว่านี่เป็นข่าวในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดในต่างประเทศเกี่ยวโยงเข้ามาถึงในประเทศได้เสมอ มันยังข้ามเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ ๘ อีกด้วย เรื่องของคนต่างชาติศาสนาสามารถไหลลงมาสู่สื่อท้องถิ่นซึ่งจะจับประเด็นตามความรู้ ความเชื่อ ของตน และสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ ขึ้นมาในกระแสสื่อสารที่ตนครอบครองพื้นที่อยู่ ส� ำหรับประเด็นข่าวต่างประเทศและข่าวการเมืองนั้น ในบรรดาสื่อทั้งหลายนั้น ยูทูป (YouTube) มีผู้ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวการเมืองและข่าวต่างประเทศ ส่วนทวิตเตอร์ใช้แลกเปลี่ยน ข่าวสารด้านเทคโนโลยี ส่อแสดงว่าพลเมืองเน็ต (netizen) นิยมข่าวสารจากวีดิทัศน์ ซึ่งช่วยให้เห็นเหตุการณ์ จริงหลังจากเกิดเหตุเพียงไม่นาน บางครั้งสามารถเห็นเหตุการณ์ที่ก� ำลังเกิดขึ้นด้วยตาตนเองเพราะ มีการถ่ายทอดทาง ยูทูปซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ความรวดเร็ว ประหนึ่งผู้ชมได้เข้าไปเห็นเหตุการณ์จริง จึงเอาชนะสื่อมวลชนแบบเก่าได้โดยง่าย ดังนั้น สื่อในภูมิทัศน์เดิมจึงมิใช่ผู้ก� ำหนดวาระข่าวสารแต่ผู้เดียว เหมือนในอดีต เพราะกระแสข่าวสารมีต้นทางมาจากนอกพรมแดน แล้วเข้ามาสู่การจัดการของคน ในพื้นที่ในสิ่งแวดล้อมการสื่อสารที่มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครือข่ายมากขึ้น ทั้งยังมีการสนทนา แลกเปลี่ยนกันเป็นก้อนข้อมูลข่าวขนาดมหึมา ๖ See more at: http://www.veedvil.com/news/digital-in-thailand-2016/#sthash.NGzFVIKT.dpuf ๗ De Beer, Arnold, S. (Ed.) (2009). Global Journalism: topical issues and media system, 5th edition, Boston: Pearson ๘ Chang, Tsan-kuo Luo, T. Y. and Hao, Xiaoming (2000). From the United States with News and more: International flow, TV coverage and world system, Gazette62 (6) Pp 505-522
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=