สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

373 สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ในสภาพอภิสาร โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วรรณกรรม ท� ำงานประสานกับโทรศัพท์ มือถือ สื่อออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณลักษณะพื้นฐานและลักษณะเฉพาะตัวแตก ต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมออนไลน์สามารถถ่ายทอดทั้งภาพ เสียง และเป็นเครือข่ายปฏิสัมพันธ์ ผู้รับเป็นผู้ส่งได้ด้วย และสามารถไหลไปมาข้ามระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ ก่อให้เกิดการหลากไหลของ ข้อมูลข่าวสารอย่างมหาศาล ๒. การใช้สื่อใหม่ของประชาชน สมาร์ตโฟนประสานกับโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ สร้างพลังของการหลากไหล การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ที่เล็กและไร้สายและท� ำหลายหน้าที่ ปัจจุบัน ผู้คนใช้โทรศัพท์ มือถือกันอย่างเป็นเรื่องปรกติเนื่องจากราคาไม่แพง สะดวกต่อการน� ำติดตัวไปทุกหนแห่ง สามารถ ท� ำหลายหน้าที่ ทั้งติดต่อสื่อสาร ถ่ายภาพ อัดเสียง ดูภาพยนตร์ ฟังดนตรี อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ค� ำนึงถึงสถาน ที่และเวลา ผู้คนเข้าถึงกันได้ง่ายทุกเวลา ตอบสนองความอยากรู้ข่าวสารของมนุษย์ทั่วโลกในเวลาเดียวกัน จากการส� ำรวจการใช้สมาร์ตโฟนของสถาบันรอยเตอร์ (Reuters Institute) ระหว่าง ค.ศ. ๒๐๑๒-๒๐๑๕ ๕ พบว่า ประชาชนในซีกโลกพัฒนาแล้วใช้สมาร์ตโฟนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยส� ำคัญ ในเดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นถึง ๒ เท่าในระยะเวลา ๔ ปี ในอังกฤษประชาชนใช้ สมาร์ตโฟนบริโภคข่าวจากบีบีซีมากที่สุดถึงร้อยละ ๕๑ ในเรื่องการบริโภคข่าวสาร ทั้งนี้เพราะ มีช่องทางของการเสพข่าวมากมายผ่านสมาร์ตโฟน และยังสามารถหาข่าวเพิ่มเติมได้ผ่านสื่อชนิดอื่น จากการเปรียบเทียบการใช้สื่อระหว่างประเทศพบว่า ระหว่าง ค.ศ. ๒๐๑๒-๒๐๑๕ ในสหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ก ประชาชนรับข่าวจากโทรทัศน์น้อยลงในขณะที่รับจากสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ และสนทนาออนไลน์มากขึ้น ในเยอรมนีโทรทัศน์ยังมีบทบาทอยู่มาก โดยมีสื่อสังคมออนไลน์ ตามมาห่าง ๆ  และก� ำลังเพิ่มความส� ำคัญมากขึ้น อังกฤษมีแนวโน้มใกล้เคียงกัน ในทุกประเทศ หนังสือพิมพ์ ก� ำลังเสื่อมถอยถึงแม้จะมีความพยายามรักษามรดกทางประวัติศาสตร์นี้อยู่บ้างในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. ๒๐๑๒-๒๐๑๓ แต่ก็ดูจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ในโลกตะวันตกสื่อสังคมออนไลน์ก� ำลังแซงหน้าสื่อทุกชนิด รวมทั้งสื่อที่ยังมีฐานอยู่ในภูมิทัศน์เดิม คือยังใช้หน้าจอโทรทัศน์หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะมี อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้สะดวกกว่าเข้ามาให้เป็นทางเลือกใหม่ และมีแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถเลือกดูได้ ๕ Nic Newman with David A.L.Levy and Rasmus Kleis Nielsen, REUTERS INSTITUTE DIGITAL NEWS REPORT 2015 TRACK- ING THE FUTURE OF NEWS , Reuters Institute for the Study of Journalism, University of Oxfor

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=