สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

31 สิ ทธิ์ บุตรอิ นทร์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ ปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับกฎนี้ แต่สามัญชนคนจ� ำนวนมากอาศัยปรัชญาวิทยาศาสตร์ พยายามปรับกฎนี้ และบริหารจัดการให้เป็นไปตามวิทยาการสนองความอยากของตน ความไหลเลื่อนเคลื่อนวงจรชีวิต ย่อมเป็นไปตามบรรทัดฐานแห่ง ธรรมดา (ธมฺมตา) ไม่ฝืนความเป็นปรกติของธรรมชาติด� ำเนินชีวิต ให้เป็นไปตาม ความสมดุลแห่งเหตุกับผล ที่อยู่ใน ความพอดี ของสิ่งนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ ที่มี ความพอดี และความเป็นปรกติ ในตัวเอง สอดคล้องกับความพอดีความเป็นปรกติของธรรมชาติ แต่ไหนแต่ไรมา การดิ้นรนพยายามล่วงเกินและเอาชนะ ความเป็นธรรมดา และฝืนความจริงตามธรรมชาติ อาจ ท� ำได้ที่ ไม่เกินพอดี เกินเหตุเกินผล แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นความพยายามกระท� ำตัวให้ พิการ เพราะความ ผิดปรกติ ใน ความเป็นสัตว์ธรรมชาติของมนุษย์ อุปมาเหมือนพยายาม ตัดขานกกระสามาต่อขานกเป็ด ซึ่งละเมิด ธรรมชาติของสัตว์ทั้ง ๒ ชนิด ด้วยหวังให้สัตว์ ๒ ชนิด มีความเหมือนกันเสมอภาคกัน สมใจคาดหวังของ มนุษย์ และให้เอาอย่างมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์ ทวิภพ -เป็นได้ทั้ง สัตว์ธรรมชาติ และ สัตว์วัฒนธรรม ในวิถีชีวิต เดียวกันแต่เกิดจนตาย ปรัชญาเมธีจวงจื๊อ นักปราชญ์ส� ำนักเต๋าของจีน อีกท่านหนึ่งที่เข้าถึงธรรมชาติ ของโลกและชีวิต สอน วัฒนธรรมคติธรรม ไว้ว่า ชีวิตเป็นสิ่งเกิดขึ้น ด� ำรงอยู่ เปลี่ยนแปลง และสิ้นสุดลง ตามเหตุปัจจัยธรรมชาติ และได้รับการดัดแปลงปรุงแต่งเพิ่มเติมเสริมขึ้นภายหลัง โดยสมบัติทางปัญญา ของมนุษย์ เหตุดังนี้ จึงไม่เศร้าโศกเสียใจต่อการตายของภรรยาท่าน : “...แต่เดิมนางก็ไม่มีชีวิตมาก่อน นอกจากไม่มีชีวิตมาก่อนแล้ว นางยังปราศจากรูปร่ าง ปราศจากลักษณะ ต่อมาธรรมชาติได้ ปรุงแต่งประกอบเป็นรูปเป็นร่างและลักษณะขึ้นเป็นชีวิตของนาง บัดนี้ โดยกระบวนการธรรมดาของการเปลี่ยนแปลง นางได้ถึงที่สุด แห่งชีวิตแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมชาติ เฉกเช่นความหมุนเวียนของ ฤดูกาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ-ธรรมดา จะให้ฉันโศกเศร้าอาดูร นั้น ฉันเห็นว่าเป็นการไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาติโดยแท้...ชีวิตมนุษย์ และสรรพสิ่งเมื่อเกิดขึ้นย่อมแปรเปลี่ยนแล้วก็ตาย นี่คือสัจธรรม กฎ สากลแห่งความเป็นธรรมดา...” ๔ ๔ Fung Yu-Lan. A Short History of Chinese Philosophy , The Free Press, Maxmillan Publishing Co., Inc. New York 1948, p. 109.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=