สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 372 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ในกระแสข่าวสารโลก สื่อต่างภูมิทัศน์เหล่านี้ได้พัฒนากลายเป็นสื่อใหม่ดังกล่าวแล้ว จากนั้นสื่อแยกย่อยแต่ละชนิด ต่างก็ท� ำงานร่วมกันไปแบบคู่ขนานที่เรียกว่าอภิสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็น ซีเอ็นเอ็น (CNN), บีบีซี (BBC), ฟอกซ์นิวส์ (Foxnews) หลอมตัวเข้ากับสื่อออนไลน์ และเกาะตัวเข้ากับสื่อสังคมออนไลน์แบบอภิสาร รายงานการวิจัยอิสระเมื่อ ค.ศ. ๒๐๑๕ ที่สนับสนุนโดยไอเซ็นเทีย (iSentia) ยืนยันความ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่าโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ กับสื่อสังคมออนไลน์มีการพึ่งพากันหรือเกาะเกี่ยวกัน ทั้งในแง่การก� ำหนดประเด็นข่าว และการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมท� ำให้วงจรข่าวแบบดั้งเดิมหรือวันต่อวัน ๒๔ ชั่วโมง (ตัวอย่างเช่นหนังสือพิมพ์มีรายวัน) ที่ถือว่าเร็วที่สุดแล้ว กลายเป็นเรื่องล้าสมัย ข่าวสาร และ ข้อมูลต่าง ๆ  อยู่ในรูปแบบลักษณะของการไขว้กัน ตัดกัน สลับกัน ขัดแย้งกัน โดยมีการเดินทางในรูปแบบ ที่มีการหยุดพักระหว่างขั้นตอนเป็นช่วงเวลาในวงจรข่าวสารนั้น ในกรณีวินาศกรรมในปารีสที่ก� ำลังศึกษา อยู่นี้ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือสื่อใหม่ชนิดหนึ่งที่ผลักดันการไหลของข่าวผสมกับสื่อสังคมออนไลน์ ภาพที่ ๑ คุณลักษณะพื้นฐานและลักษณะเฉพาะตัวของสื่อแต่ละชนิด คุณลักษณะพื้นฐาน ลักษณะเฉพาะตัว สื่อ (elements) (unique features) โทรทัศน์ ภาพ เสียง ผ่านจอ มีมาตรฐานวิชาชีพ สาระบันเทิง เข้าถึงทั่วประเทศ ภาพยนตร์ ถ่ายทอดด้วยภาพและเสียง สร้างจินตนาการ วรรณกรรม สื่อตัวอักษร มีความยาว ภาษาสวยงาม เร้าจินตนาการ โทรศัพท์มือถือ สะดวก เข้าถึงได้ทุกเวลา สื่อสารทั้งเรื่องส่วนตัวและงาน หนังสือพิมพ์ อักษร กระดาษ ต้นแบบ มาตรฐานวิชาชีพ เป็นสื่อเก่าแก่ที่สุด เก็บไว้ได้นาน มีพลังทางการเมือง สื่อสังคมออนไลน์ ถ่ายทอดด้วยภาพ เสียง เครือข่าย ผู้รับสลับเป็นผู้ส่ง มีส่วนร่วมใน เนื้อหาที่ก� ำลังสื่อสาร เชื่อม virtual กับ reality

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=