สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
369 สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ นักวิชาการมีข้อสรุปร่วมกันส� ำหรับอภิสารว่า คือ “การมาด้วยกันของ ๒ สิ่งหรือมากกว่านั้น” (coming together of two or more things) แต่ปัญหาก็คือ อะไร ที่มาด้วยกัน ในด้านหนึ่ง อภิสาร อาจหมายถึง “การมาด้วยกันของเครื่องมือหลายชนิดเพื่อการผลิตและแพร่กระจายข่าวสาร” ๑ แต่อีกด้าน หนึ่งอาจหมายถึง “กระแสข่าวสารข้ามภูมิทัศน์สื่อหลากชนิด” (flow of content across multiple media platforms) โดยต้องตระหนักว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคสื่อมีบทบาทอย่างเข้มข้นในการสร้างและกระจาย เนื้อหา โต้กระทบซึ่งกันและกันอย่างเป็นกระบวนการที่ด� ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมิได้หมายถึงการ รื้อถอนสื่อเก่า แต่หมายถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อหลายชนิดต่างหาก นักวิชาการบางคนว่าน่าจะหมายถึง การประสานสัมพันธ์ระหว่างสื่อที่เคยอยู่กันอย่างอิสระ บ้างก็ว่าหมายถึง “การหลอมรวมอุตสาหกรรม สื่อ โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน เท่ากับเป็นกระบวนการที่ท� ำให้พรมแดนระหว่างภูมิทัศน์ สื่อ (media platform) แต่ละชนิดพร่ามัวและรวมพวกเป็นรูปแบบดิจิทัลหนึ่งเดียว” ๒ ซึ่งท� ำให้กระแส ข่าวสารไหลเร็วและทรงพลัง ความเปลี่ยนแปลงจากสื่อเก่าไปสู่สื่อใหม่ ๑. การเกิดสื่อมวลชนแบบใหม่และการเกาะเกี่ยวระหว่างสื่อต่างภูมิทัศน์ นักวิชาการตะวันตกเรียกสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ที่พัฒนามาตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ว่า สื่อเก่า (Old Media) เพราะเหตุว่ายังใช้ระบบสื่อสารแบบเก่าหรือออฟไลน์ และ เรียกสื่อที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ว่า สื่อใหม่ (New Media) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน วิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ก็ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีใหม่และเข้าไปผสมกับสื่อออนไลน์ท� ำให้ยากจะเรียก สื่อมวลชนว่าเป็นสื่อเก่าได้อีกต่อไป การให้ค� ำจ� ำกัดความโดยการดูที่ปฏิสัมพันธ์เครือข่ายอันเกิดจาก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะชัดเจนกว่าดังนี้ สื่อจารีต (สื่อประเพณี) สื่อมวลชนวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เน้นให้ข่าวสารมาก แลกเปลี่ยนน้อย ก่อนคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี สื่อใหม่ (วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หลังคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทั้งออฟไลน์ ออนไลน์+สื่อออนไลน์และเครือข่ายสังคมผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ ) สื่อเก่าจึงหมายถึง สื่อแบบเดิมก่อนเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ ส่วนสื่อใหม่เกิดขึ้นในยุคหลัง ซึ่งสื่อมวลชนทุกชนิดไม่ว่าออฟไลน์หรือออนไลน์ต่างใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือผลิตข่าวสารที่ส� ำคัญ จึงรวมเรียกว่า สื่อใหม่ด้วยกันทั้งสิ้น ๑ ‘coming together of different equipment and tools for producing and distributing news’ (ibid.). Jenkins (2006:3) ๒ Burnett and Marshall cited in Grant and Wilkinson (2008:5) explain convergence as ‘blending of the media, telecommunications and computer industries’ or, in other words, as the process of blurring the boundaries between different media platforms and uniting them into one digital form.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=