สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

พลั งการหลากไหลของกระแสข่าวโลก : กรณี ศึ กษาวิ นาศกรรมกรุงปารี ส 368 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ด้านตัวสื่อและเนื้อหา การเปลี่ยนภูมิทัศน์ไปสู่การเกาะเกี่ยวระหว่างโลกจริง (reality) และโลกเสมือนจริง (virtual reality) การผันแปรหลักการวารสารศาสตร์ที่เคยยึดถือมาแต่อดีต และการสร้างผลกระทบที่ กระจายไปทั่วโลก ทั้งนี้ จะใช้กรณีศึกษาเหตุวินาศกรรมกรุงปารีส ทฤษฎีอภิสารหรือทฤษฎีคอนเวอร์เจนซ์ (Convergence Theory ) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ อภิ ว่า ยิ่ง วิเศษ เหนือ ดังนั้น “อภิสาร” จึงหมายถึง “สารอันยิ่ง” หรือสารที่เหนือสารปรกติ หรืออาจหมายถึงการสื่อสารที่ใช้ “แก่น” อันยิ่ง คือระบบใหม่ที่ใช้สื่อหลากชนิดมาท� ำงานผลิตสารร่วมด้วยกันโดยมีผู้รับสารเป็นส่วนส� ำคัญ เกือบจะเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติของหน่วยหนึ่งในกระบวนการสื่อสารคือตัว R (Receiver) รูปแบบ SMCR เดิมของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon and Weaver Model of Communication in Communication Models, Interpersonal Communication) กล่าวถึง (S) Source (M) Message (C) Channel (R) Receiver ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นตรงและมองไม่เห็นบทบาทที่ ชัดเจนของตัว R คือ ผู้รับสาร โดยทั่วไป ผู้รับสารถูกจัดให้เป็นเพียงผู้บริโภคสื่อที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียง เป็นผู้ถูก กระท� ำจากสื่อที่คิดแต่ประโยชน์ส่วนตน แต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีท� ำให้เกิดการปฏิวัติของ R ที่พลิกบทบาทมาเป็นผู้กระท� ำด้วย ทฤษฎีการสื่อสารแบบอภิสาร (The convergence theory of communication) เกิดขึ้น เมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๙ โดยลอว์เรนซ์ ดี. คินเคด (Lawrence D. Kincaid) เพื่อสร้างระบบสารชนิดใหม่ที่มีข้อ จ� ำกัดน้อยลงกว่าของแชนนอนและวีเวอร์เข้ามาแทนที่ โมเดลของคินเคดอธิบายการสื่อสารแบบอภิสารว่า มีลักษณะ ๑) เป็นกระบวนการ มิใช่เป็นการกระท� ำที่เกิดขึ้นแล้วจบลงครั้งเดียว ๒) เป็นการมีส่วนร่วมหรือ แลกเปลี่ยนสาร มากกว่าจะเป็นการสื่อสารทางเดียว ๓) มีคู่สนทนามากกว่าหนึ่ง ๔) เป็นกระบวนการโต้ กระทบ (feedback) ที่ปรับตัวเองไปได้ตลอด ปรับแก้ ปรับแก้จนผู้ส่งสารหลาย  ๆ  คน (ฝ่าย) บรรจบลง ที่เป้าหมายหนึ่งใดที่ตนต้องการ เฮนรี เจนกินส์ (Jengins : 2006) ชูประเด็นวัฒนธรรมอภิสารในหนังสือของเขาเรื่องวัฒนธรรม อภิสาร “Convergence Culture” โดยการวิเคราะห์หลากรูปแบบของสื่ออภิสารที่สร้างนิยามใหม่ ในบริบทของสื่อทั้งโลก ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และชีวศาสตร์ ในลักษณะทั้งบนลงล่าง และล่างสู่บน กล่าวคือ ในประดิษฐกรรมใหม่ ๆ  เพื่อให้น� ำไปใช้ได้จริงนั้นทั้งผู้ประดิษฐ์และผู้บริโภค ต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน ดังนั้น ไม่ว่าผู้ประดิษฐ์สินค้าจะคิดหรือวางแผนสร้างอะไรขึ้นมา ผู้บริโภค ต่างหากที่เป็นผู้ตัดสินชะตากรรมของสินค้านั้นว่าจะติดตลาดหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=