สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

367 สุกั ญญา สุดบรรทั ด วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ เพียงผู้บริโภคข่าวสาร ท� ำให้สื่อซึ่งท� ำหน้าที่เป็นนายประตูข่าวสาร (Gatekeeper) มีอิทธิพลในฐานะที่ เป็นผู้เปิดช่องทางข่าวสารสาธารณะ แต่ปัจจุบันโครงสร้างของสื่อเป็นแนวนอนมากขึ้น เพราะประชาชน สามารถเข้าถึงสื่อและผลิตสื่อเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคพลิกกลับมาเป็นผู้ผลิต ผู้ผลิตเดิมกลับ มาบริโภคสื่อใหม่ที่ประชาชนสร้างขึ้น ทั้งหมดนี้ประดุจเป็นการพลิกยุคข่าวสารครั้งที่ ๒ จากยุคสื่อสาร มวลชนสู่ยุคสื่อใหม่ โดยการพลิกยุคครั้งที่ ๑ หมายถึงการพลิกระบบสื่อสารจากยุคเกษตรที่ไร้เทคโนโลยี มาสู่ยุคเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ความลึกลับจะถูกเปิดเผยมากขึ้น ไม่น่าเชื่อว่าเทคโนโลยีจะท� ำให้โลกเปลี่ยนไปมาก ชาวโลก จับตาดูการละลายของน�้ ำแข็งขั้วโลกจากภาพถ่ายทางอากาศด้วยความกระวนกระวาย การค้นหาความ จริงเกิดขึ้นทั้งในอวกาศและใต้พิภพ เมืองที่ถล่มจมหายไปนานได้รับการค้นพบและน� ำเสนอในรายการ ที่ชาวโลกเฝ้าดู ความลับทางเอกสารหลุดรั่วในระดับโลกครั้งแล้วครั้งเล่า บรรดาความเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการสื่อสารทั้งหมด จุดที่ส� ำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มขีดสมรรถนะของผู้รับสารและ การเกิดของ “ความจริง” จ� ำนวนนับไม่ถ้วนจนกระทั่งไปกระทบเข้ากับชุด “ความจริง” หรือขนบที่เคย ยึดถือมาแต่ดั้งเดิม พลังการหลากไหลของกระแสข่าวสารท่วมท้นเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะจดจ� ำ จึงต้องเลือกรับข่าวสารเฉพาะที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์และความต้องการของตนเอง และหล่อหลอมเป็น ความเห็น เป็นทัศนะที่ใช้ในการมองโลก และบางครั้งยึดมั่นว่านั่นคือความจริงที่เจืออารมณ์ ความหลากหลาย และการเคลื่อนไหวก� ำลังเข้ามาท้าทายการหยุดนิ่งในจารีตเก่าแก่ มนุษย์ต่างเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และ ความเชื่อ มีความรู้สึกหวั่นไหวต่อการถูกกระทบกระเทือน เมื่อเป็นเช่นนั้นจะควบคุมระบบการไหลของน�้ ำได้อย่างไร การปิดก๊อก การตรวจสอบ อาจท� ำได้ ในระดับหนึ่ง แต่ความหลากหลายมหาศาลนั้นก็ยังยากต่อการท� ำความเข้าใจ การเปิดก๊อกเพื่อเพิ่มปริมาณน�้ ำ ที่ต้องการต้องเผชิญกับหยดน�้ ำมหาศาลที่มีจ� ำนวนมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นในห้วงมหาสมุทรข่าวสารยังเต็มไป ด้วยโจรสลัดไซเบอร์ที่สร้างประวัติการณ์ของการเข้ามาล้วงลึก หลุดรั่ว และปล้นสะดม ข่าวที่เคยเป็นเพียงกลไกส่องสังคมใดสังคมหนึ่งก� ำลังท� ำหน้าที่ที่ไกลไปกว่านั้น เหตุการณ์ในซีก โลกหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออีกซีกโลกหนึ่งแบบยืดเยื้อยาวนาน การสื่อสารของมนุษย์ได้เปลี่ยนไปจาก การสื่อสารแบบทางเดียวไปสู่การสื่อสารแบบเครือข่าย เป็นสารที่ยากต่อการควบคุมเนื่องจากสามารถ เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ  ตามการแทรกแซงของผู้ใช้ สามารถกระจายไปอย่างรวดเร็วข้ามกาลเวลาและ สถานที่ สร้างเมืองหลวงใหม่และชายขอบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา กล่าวคือ ที่ใดที่เกิดเหตุการณ์ใหญ่ ที่นั้น จะกลายเป็นศูนย์แห่งความสนใจของชาวโลก และส่วนอื่น ๆ  กลายเป็นชายขอบของหมู่บ้านโลก (Global Village) เนื่องจากพัฒนาการเหล่านี้เป็นของใหม่ บทความนี้จึงจะวิเคราะห์การไหลของกระแสข่าวสาร ดังกล่าวว่าเปลี่ยนจากอดีตไปสู่รูปแบบที่มีพลังมากขึ้นได้อย่างไร โดยดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=