สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ปรั ชญาวั ฒนธรรม 30 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑. มนุษย์กับวัฒนธรรม ดังได้ปรารภในเบื้องต้นว่า มนุษย์แม้เป็นสัตว์แต่ไม่เหมือนสัตว์อื่นไปทุกอย่าง ทุกลักษณะ และทุกเรื่อง ในความมีชีวิต การด� ำเนินวิถีชีวิต และสิ่งมุ่งหวังของชีวิต เพราะมนุษย์เป็น สัตว์ทวิภพ ๓ หรือ สัตว์สภาวะ แต่เกิดจนตาย คือ สภาวะเป็นสัตว์ธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่น คู่กับ สภาวะเป็นสัตว์ วัฒนธรรม ที่สัตว์อื่นไม่มี ๑.๑ มนุษย์เป็นสัตว์ธรรมชาติ : มนุษย์เป็นเพียงสัตว์ชนิดหนึ่ง สังกัดเผ่าพันธุ์ประเภทหนึ่ง ในโลกและจักรวาล ท่ามกลางบรรดาสัตว์ชนิดอื่น สังกัดเผ่าพันธุ์ประเภทอื่น ที่มีอยู่หลากหลายในธรรมชาติ มนุษย์ได้ชีวิตและด� ำเนินชีวิตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งธรรมชาติในกฎธรรมชาติ สืบทอดชีวิตความเป็น มนุษย์ (ที่มนุษย์เรียกชื่อเองตามวัฒนธรรมภาษาของมนุษย์) ทางสายเลือด สายพันธุ์ หรือ พันธุกรรม จากบรรพชนสู่ทายาทชน ท� ำให้มนุษย์มีทั้งความเหมือนและความต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์อื่น และ มนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน สามารถบอกได้ว่าใครเป็นใคร รูปร่างหน้าตาได้ใคร เกี่ยวพันทางสายเลือดกับใคร ดังค� ำพังเพย ‘เชื้อไม่ทิ้งแถว แนวไม่ทิ้งหน่อ ตอไม่ทิ้งต้น คนไม่ทิ้งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์’ มนุษย์มีความจ� ำเป็นและความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติ เทียบได้กับสัตว์อื่น แม้คุณค่า และลักษณะไม่ตรงกันและเหมือนกันนัก อาทิ อาหาร สิ่งห่อหุ้มปกปิดกาย ขับถ่าย สืบพันธุ์ เพื่อความ อยู่รอดของชีวิต และการด� ำรงเผ่าพันธุ์ แต่ส� ำหรับมนุษย์มีความหลากหลายและสลับซับซ้อน ไม่เพียง เพื่ออยู่รอดเท่านั้น แต่เพื่ออยู่ดีด้วย มนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเลี้ยงชีวิต ด� ำรง และด� ำเนินชีวิต ในกระบวนวิวัฒนาการของธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถคาดเดา และเอาชีวิตเข้าไปก� ำหนด จัดการ ครอบง� ำ และก� ำกับธรรมชาติ ให้เป็นไปตามความประสงค์และสนองความหวังอันหาขอบเขต มิได้ของตน ทุกอย่างในทุกเรื่อง ทุกระดับ แม้อาศัยวิทยาการใด ๆ ก็ตามเถิด มนุษย์ท� ำได้ในระดับหนึ่ง และเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น การเกิดขึ้น ความเป็นอยู่ และแปรเปลี่ยนไป ที่นักคิดนักวิชาการยุคต่อมา พากันเรียกว่า กระบวนพัฒนาการและวิวัฒนาการของสรรพสิ่งรวมทั้งมวลมนุษย์ ย่อมด� ำเนินไปไม่หยุดยั้ง ภายใต้กฎเกณฑ์สากลของธรรมชาตินี้ ที่ผู้เขียนใช้ค� ำว่า ธรรมชาติบัญญัติ ไม่ใช่ มนุษยบัญญัติ ซึ่งอย่าง หลังเป็นเรื่อง วัฒนธรรม ปวงปรัชญาเมธีตะวันออก ได้พากันค้นพบกฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ เช่น กฎไตรลักษณ์ กฎวัฏจักร กฎแห่งกรรม และหลักปฏิจสมุปบาท ใน พุทธปรัชญา และ เต๋าในปรัชญาเหลาจื๊อ ที่ท่านสอนเน้นด้าน คุณวิทยา จริยศาสตร์ และ ภววิทยา ให้คนตระหนักและเข้าถึงความจริงของกฎนี้ และพยายามท� ำตน ๓ ศึกษาความละเอียดใน Albert, S.: The Philosophy Culture and Civilization , Trans. By C.T. Campion, Eurasia Publishing House. New Delhi 1968 pp. 174-188.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=