สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 362 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 จากบทความข้อคิดของโนลต์ พบว่า พฤติกรรมที่ถูกปลูกฝังในเด็กนั้นมาจากผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ ดูแลเด็กอย่างแท้จริง ฉะนั้น นอกเหนือจากครอบครัวแล้ว ครูจึงมีบทบาทส� ำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็กให้ดี และเก่ง เพื่อการพัฒนาชาติต่อไป บทสรุป การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากประชากรไม่มีความพร้อมพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และบุคลิกภาพ ฉะนั้น หากจะน� ำประเทศไปสู่เป้าหมายของการปฏิรูปการร่วมมือ ระหว่างสถาบันคือ บ้าน วัด และโรงเรียน (บวร) จึงเป็นสิ่งส� ำคัญ ทุกภาคส่วนต้องมียุทธศาสตร์และยุทธวิธี ที่ชัดเจนและใช้ทฤษฎี 4D คือ วาดฝัน วางแผน กล้าท� ำ และท� ำทันที ไม่ต้องฟังกรรมการ อนุกรรมการ ศึกษา มากมายหลายขั้นตอนเพื่อประวิงเวลาอีกต่อไป และที่ส� ำคัญที่สุดต้องน้อมน� ำพระราชกระแสฯ เกี่ยวกับ การปฏิรูปการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมาปรับใช้ในการเรียนการสอน คือ “ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู” “ให้ครูสอนเด็กให้มีน�้ ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกันและให้เด็กแข่งกับตัวเอง ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่า ช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า” “ให้ครูจัดกิจกรรมให้นักเรียนท� ำร่วมกันเพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี” น้อมรับมาปฏิบัติอย่างเข้าใจ เพื่อการสอนที่ยังประโยชน์แก่เยาวชนของชาติต่อไป.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=