สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
361 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ และปู่ย่าตายายเป็นต้นแบบ แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกท� ำให้เด็กออกจากครอบครัวเร็วขึ้น ต้นแบบของเด็กคือครูคนแรกของเขานั่นเอง “ฉะนั้น เด็กจะดีและเก่งได้ต้องขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของครูคนแรกของเขา” เด็กและเยาวชนที่ดีและเก่งในความคิดเห็นของผู้เขียนอาจจะแตกต่างจากผู้อื่น เด็กที่มีจิตใจงาม และเก่งในทัศนะของผู้เขียน มีดังนี้ ๑. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ๒. มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ ใฝ่แสวงหาความรู้ ๓. มีระเบียบวินัยในการด� ำเนินชีวิต ๔. มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ๕. เสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเอง การสร้างจิตใจที่งดงามของเด็กหรือการพัฒนาเด็กให้เก่งนั้น สิ่งที่ผู้ใหญ่หรือผู้รับผิดชอบอบรม เลี้ยงดูต้องตระหนักว่า เด็กคือผ้าขาวที่พร้อมยอมรับสีต่าง ๆ ที่ผู้ใหญ่จะป้ายลงไป ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า เยาวชนที่มีคุณภาพเกิดจากรูปแบบการกล่อมเกลาที่มีคุณภาพของบุคคลที่อบรมดูแลเด็กนั่นเอง ดังที่ โดโรที ลอว์ โนลต์ (Dorothy Law Nolt, 1972) ได้เขียนไว้ในแผ่นปลิวเพื่อแจกจ่ายทั่วไป และถอดความ โดย พรรณทิพย์ เภกะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ดังนี้ ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยค� ำต� ำหนิ เขาก็จะเป็นคนล้มเหลว ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความก้าวร้าว เขาก็จะเป็นคนที่แข็งกร้าว ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยค� ำเย้ยหยัน เขาก็จะเป็นคนขลาดอาย ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยละอายกลัวผิด เขาก็จะเป็นคนขี้หวาดระแวง ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความมานะ เขาก็จะเป็นคนที่อดทน ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการให้ก� ำลังใจ เขาก็จะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตน ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความชื่นชม เขาก็จะเป็นคนที่ซึ้งในคุณค่า ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความยุติธรรม เขาก็จะเป็นคนที่รักความยุติธรรม ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความรักและอบอุ่น เขาก็จะเป็นคนที่มีศรัทธาในชีวิต ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยการยอมรับ เขาก็จะเป็นคนที่พอใจในตนเอง ถ้าเด็กถูกเลี้ยงด้วยความเป็นมิตร เขาก็จะเป็นคนเต็มไปด้วยความรักและเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=