สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ปฏิ รูปกระบวนการพั ฒนาการรู้คิ ด (Cognition) ในการพั ฒนาเด็ กให้ดี และเก่งด้วยการศึ กษา 360 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 41 No. 2 April-June 2016 ๑. ปิโย - เป็นการเข้าถึงจิตใจและสร้างความรู้สึกสนิทสนม ๒. ครุ - เป็นที่เคารพให้เกิดความอบอุ่นใจว่าพึ่งได้และปลอดภัย ๓. ภาวนีโย - เป็นที่น่ายกย่อง ด้วยมีความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ๔. วตฺตา - เป็นที่ปรึกษาที่ดี รู้จักพูดให้ก� ำลังใจ คอยแนะน� ำว่ากล่าว ตักเตือน ๕. วจนกฺขโม - อดทนรับฟังได้ พร้อมทั้งฟังค� ำซักถามต่างๆ ไม่เบื่อหน่าย ๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา - ชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้ ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย - ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย ทางพุทธศาสนาถือว่า ความสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียนนั้นอยู่ในฐานะกัลยาณมิตรคือ เป็น ผู้ช่วยเหลือแนะน� ำผู้เรียนให้ด� ำเนินก้าวหน้าไปตามมรรคาแห่งการฝึกอบรม ส่วนในทฤษฎีการสอนแบบตะวันตกนั้นผู้เขียนศึกษาหลักการสอนจากหลากหลายแหล่งพบว่า โดยทั่วไปจะก� ำหนดคุณสมบัติของผู้สอน สามารถประมวลได้ดังนี้ ๑. มีเชาวน์ปัญญา ที่ต้องใช้แสวงหาและสะสมความรู้ให้ทันสมัยศึกษาปรัชญา ทางการศึกษาที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ๒. รู้ลักษณะผู้เรียน เข้าใจผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดี รู้ความแตกต่าง และความเป็นเอกัตของผู้เรียน การผลิตคนที่มีคุณภาพ มิใช่ผลิตสินค้าแบรนด์เนมที่ทุกกระป๋องหรือทุกชิ้น เหมือนกัน ๓. รู้หลักการสอน รู้ทฤษฎีการสอนที่ทันสมัย มีประโยชน์สูงสุดในการ เรียนรู้ของผู้เรียน ๔. มีคุณธรรมและจิตวิญญาณครู ผู้สอนต้องมีความเป็นครู รักความเป็นครู และมี จริยธรรมน� ำความรู้เสมอ สถาบันการศึกษาในโลกยุคปัจจุบันมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น รัฐต้องปฏิรูประบบการศึกษาอย่างเร่งด่วนมิให้ไทยเป็นระดับที่ ๘ ในอาเซียน ๑๐ ประเทศ เนิ่นนานต่อไป ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นสิ่งแรกที่ต้องปฏิรูปคือ การพัฒนาครู อันน� ำไปสู่หัวใจการพัฒนาเด็กและเยาวชน แต่การจะพัฒนาครูต้องเห็นคุณค่าของความเป็นครูที่มิใช่เห็น ครูเป็นแค่เรือจ้างรับส่งเด็ก แต่หากครูคือผู้สร้างจิตวิญญาณของเด็ก โดยเฉพาะครูในโรงเรียนอนุบาลและ เด็กปฐมวัย ครูจะมีบทบาทเสมือนเป็นแม่พิมพ์ในการเจริญเติบโตของเด็กวัยนี้เพราะพัฒนาการเด็กอยู่ ในระยะวิกฤติ (critical period) ที่เด็กจะเรียนรู้และลอกแบบพฤติกรรมครู ในอดีตกาลเด็กจะมีพ่อแม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=