สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

359 พรรณทิ พย์ (เภกะนั นทน์) ศิ ริ วรรณบุศย์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๙ การเรียนรู้ และการฝึกอบรมในระดับ ต่าง ๆ และรู้จักใช้เทคโนโลยีเข้ามา แก้ ไขหรือส่ ง เสริมการ เ รียนรู้ ให้ ก้าวหน้า ๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ รู้ประวัติและประสบการณ์ของผู้เรียน ๙. จุตูปปาตญาณ คือ สามารถรู้เท่าทันและเข้าใจพฤติกรรม ของผู้เรียน มองเห็นปัญหาและสาเหตุ แห่งปัญหาพร้อมที่จะให้ความช่วย เหลือแก้ไข ๑๐. อาสวักขยญาณ คือ เข้าใจและแน่ใจว่าสามารถกระท� ำให้ ผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นได้จริง ๒.๑.๒ ปฏิสัมภิทา คือ การมีปัญญาแตกฉานในด้านต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา มี ๔ ประการ คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา คือ การมีปัญญาแตกฉานในอรรถ ได้แก่ เข้าใจแจ่มแจ้ง ในความหมายของถ้อยค� ำ ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ได้แก่ เข้าใจแจ่มแจ้งใน หลักและธรรมปฏิบัติ ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ การมีปัญญาแตกฉานในนิรุตติ ได้แก่ รู้จักใช้ ถ้อยค� ำชี้แจงให้คนเข้าใจมีความรู้แตกฉานในภาษา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ได้แก่ ความมีไหวพริบ สามารถเข้าใจเหตุและผล สามารถเชื่อมโยง ความรู้เข้าด้วยกัน ๒.๒ พระวิสุทธิคุณ ความบริสุทธิ์เป็นพระคุณส� ำคัญยิ่ง เกี่ยวกับความเชื่อถือและเลื่อมใส ของผู้เรียนตามหลักพุทธศาสนา ครูหรือผู้สอนต้องมีความบริสุทธิ์ท� ำให้คนเชื่อถือและเลื่อมใส ไม่มีเหตุให้ บุคคลอื่นยกขึ้นต� ำหนิได้ และสอนอย่างไรก็ต้องประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ผู้เรียนเกิด ความเชื่อมั่น การสอนต้องมุ่งผลประโยชน์ของผู้เรียนอย่างเดียว ไม่เคลือบแฝงผลประโยชน์ส่วนตน ๒.๓ พระกรุณาคุณ คือการสอนที่ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากของครู เป็นความกรุณาของ ครูที่แสดงออกในการอบรมสั่งสอน เป็นส่วนประกอบส� ำคัญท� ำให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนอย่างที่เรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=